14/10/56

๖. แนวทางการออกเสียงอักษรโดยใช้ฐาน และ กรณ์

๑๙.  แนวทางการออกเสียงอักษรโดยใช้ฐานและกรณ์ ดังนี้
            เวลาออกเสียง ตาลุชอักษร ๘ ตัว คือ อิ  อี  จ ฉ ช ฌ ญ  ต้องใช้ท่ามกลางลิ้นแตะที่เพดานช่วยทำเสียง เพราะฉะนั้น อักษรเหล่านี้จึงมีตาลุ (เพดาน) เป็นฐาน มีชิวหามัชฌะ (ท่ามกลางลิ้น) เป็นกรณ์.
            เวลาออกเสียงมุทธชอักษร คือ ฏ ฐฑ ฒ ณ ร ฬ ต้องใช้ที่ใกล้ปลายลิ้นแตะที่ปุ่มเหงือกด้านบน เพราะฉะนั้นอักษรเหล่านี้ จึงมีมุทธะ (ปุ่มเหงือก) เป็นฐาน มีชิวโหปัคคะ (ที่ใกล้ปลายลิ้น) เป็นกรณ์.
            เวลาออกเสียงทันตชอักษร คือ ต ถ ท ธ น ล ส ต้องใช้ปลายลิ้นแตะที่ฟัน เพราะฉะนั้น อักษรเหล่านี้ จึงมีทันตะ (ฟัน) เป็นฐาน มีชิวหัคคะ (ปลายลิ้น) เป็นกรณ์.
            เวลาออกเสียงอักษรที่เหลือ ทั้งหมดคือ กัณฐชอักษร อ อา ก ข ค ฆ ง ห โอฏฐชอักษร คือ อุ อู ป ผ พ ภ ม และ (   ) ก็ใช้ฐานของตนนั่นเองเป็นกรณ์ เพราะไม่มีกรณ์อื่นนอกจากฐานของตน หมายความว่า อักษรเหล่านี้มีฐานและกรณ์เป็นอันเดียวกัน.
            อักษรที่เกิดใน ๒ ฐาน คือ เอ โอ ว ง ญ ณ น ม  ออกเสียงดังนี้คือ
            เอ เกิดในฐานทั้งสอง คือ กัณฐะ (คอ) และตาลุ (เพดาน) จึงมีลมกระทบที่คอและเพดาน
            โอ เกิดในฐานทั้งสอง คือ กัณฐะ (คอ) และโอฏฐะ (ริมฝีปาก) จึงมีลมกระทบที่คอและริมฝีปาก.
            เกิดในฐานทั้งสอง คือ ทันตะ (ฟัน) และโอฏฐะ (ริมฝีปาก) ฟันบนจึงกระทบกับริมฝีปากล่าง.
            ง ฐ ณ น ม เกิดในฐานเดิมและนาสิกฐาน ลมจึงออกจากฐานเดิมไปถึงจมูก
            นิคคหิต  เกิดใน จมูก (นาสิกฏฐาน) เพราะเหตุนั้น เวลาออกเสียง อํ อึ อุ ต้องข่มกรณ์ คือ ปิดกรณ์ไว้ไม่ให้ลมกระทบกับฐานและกรณ์ของสระที่ตนอาศัยอยู่ลมจึงออกทางจมูก หากปิดจมูกแล้วออกเสียง ลมจะเต็มอยู่ในจมูก เสียงไม่ชัด เพราะฉะนั้น เวลาออกเสียงนิคคหิต ต้องไม่อ้าปากมาก เพราะถ้าอ้าปาก ลมจะออกทางปากมากไม่ออกทางจมูก ก็จะเป็นการออกเสียงผิด.  เพราะฉะนั้น นิคคหิตนี้ จึงแปลว่า ข่มกรณ์ คือ ปิดกรณ์ไว้ ด้วยเหตุดังกล่าว.
                                   

v

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น