24/5/59

อชฺชตคฺเค เริ่มแต่วันนี้

อชฺชตคฺเค เริ่มแต่วันนี้

เคยสงสัยเรื่องการสำเร็จรูปนี้อยู่ ครั้นได้ลงมือเรียบเรียงบทความบาฬีไวยากรณ์ ตามแนวทางโมคคัลลานะ จากคัมภีร์นิรุตติทีปนี จึงได้พบแนวทาง ให้ค้นคว้าต่อ เห็นว่า ถ้าจะปล่อยให้ผ่านไป คงจะหายไปกับความทรงจำเป็นแน่แท้..  
คัมภีร์นิรุตติทีปนี ท่านแสดงศัพท์นี้ไว้ในภายใต้หัวข้อเรื่อง การลง ต อาคม.  แต่วิธีการของท่านดูเหมือนจะต่างจากคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา ที่เป็นที่มาของศัพท์นี้ ข้าพเจ้า จึงได้หยิบที่มาของศัพท์นี้ที่ว่าต่างกัน แล้วนำมาคุยสนทนาท่านผู้อ่าน ได้ดังนี้ 

------

สริสปา สริํสปา สรีสปา .... อย่างไรแน่

สริสปา สริํสปา สรีสปา .... อย่างไรแน่

ข้าพเจ้าเรียบเรียงคัมภีร์นิรุตติทีปนี หลักไวยากรณ์บาฬี สายโมคคัลลานะ เจอศัพท์นี้ สริสปา สรีสปา สริํสปา ก็เลยอดจะเอามาเล่าสู่กันฟังไม่ได้ครับ 

ธมฺมิกถา , ธมฺมกถา , ธมฺมี กถา เหมือนหรือต่างกัน

บทความพิเศษ
ขอตั้งปัญหาโดยสรุปว่า ธมฺมิกถา ธมฺมกถา หรือ ธมฺมี กถา อย่างไหนถูกมีที่มา ๓ แห่ง คือ
หลักไวยากรณ์ :  ธมฺมิกถา
พระบาฬี :  ธมฺมิกถา (สยามรัฐบางเล่ม) ธมฺมี กถา (ฉัฏฐสังคายนาทุกเล่ม)  ก็มี ธมฺมกถา ก็มี
อรรถกถา : ธมฺมกถา (คำอธิบายของ ธมฺมี กถา)
ข้าพเจ้าเมื่อเขียนบทความเรื่อง “ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี” ก็พบอุทาหรณ์หนึ่งในตอนว่าด้วย การลง สระอิเป็นอาคม

อินฺทฺรืย มาจากไหน

#ศัพท์บาฬีน่ารู้
“อินฺทรฺิย”  มีความหมายตามรากศัพท์

อินฺทฺริย เป็นนามศัพท์ที่มีขัันตอนในการสำเร็จรูปมากและมีความหมายที่หลากหลาย. คัมภีร์ไวยากรณ์และคัมภีร์ฝ่ายพระอภิธรรม ได้ให้ความหมายไว้เป็น ๒ แบบ คือ ชนิดที่สำเร็จรูปมาจากธาตุ, นามศัพท์ และปัจจัย (นิปผันนปาฏิปทิกะ) และ ไม่สำเร็จรูปมาจากธาตุเป็นต้น (อนิปผันนปาฏิปทิกะ).
๑. กรณีที่มาจากนามศัพท์และธาตุลงปัจจัย (นิปผันนปาฏิปทิกะ).

9/5/59

อิตฺถิปจฺจยราสิ กลุ่มศัพท์ที่ลงปัจจัยในอิตถีลิงค์

อิตฺถิปจฺจยราสิ
กลุ่มศัพท์ที่ลงปัจจัยในอิตถีลิงค์

๗๐. อิตฺถิยมตฺวา [1]
๗๐. ลง อาปัจจัย ในอิตถีลิงค์ ท้ายนามศัพท์อการันต์

อิตฺถิยํ+อโต+อาติ เฉโทฯ อการนฺตนามมฺหา อิตฺถิยํ อาปจฺจโย โหติฯ
สูตรนี้ตัดบทเป็น อิตฺถิยํ + อโต + อา. ความหมายคือ อาปัจจัย ย่อมลง ในอิตถีลิงค์ ท้ายนามศัพท์ที่เป็นอการันต์.