14/10/56

๔ พยัญชนะ

พยัญชนะ

๑๓. อักษรที่เหลืออีก ๓๓  ตัว มี ก เป็นต้น มี (- ) นิคคหิต เป็นที่สุด ชื่อว่า พยัญชนะ เพราะทำเนื้อความให้ปรากฏ.
๑๔. พยัญชนะ ทั้ง ๓๓ ตัวนี้ แบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ
๑. พยัญชนะวรรค แยกพยัญชนะ ๒๕ ตัวออกเป็น ๕ พวก  ดังนี้ คือ
ก          ข          ค          ฆ         ง                      เรียกว่า   กวรรค  (อ่านว่า กะ-วัก)
จ          ฉ         ช          ฌ         ญ                     เรียกว่า   จวรรค 
ฏ         ฐ          ฑ         ฒ         ณ                     เรียกว่า   ฏวรรค
ต         ถ          ท         ธ          น                     เรียกว่า   ตวรรค
ป         ผ          พ         ภ         ม                     เรียกว่า   ปวรรค
 ๒.  พยัญชนะอวรรค ได้แก่ พยัญชนะที่เหลืออีก ๘ ตัว ที่ไม่เข้าพวกกับพยัญชนะวรรค ๒๕ ตัวเหล่านั้น คือ 
ย          ร          ล          ว          ส         ห         ฬ                   
ข้อสังเกต พยัญชนะตัวสุดท้าย คือ  (อ่านว่า อัง)  ในภาษาไทยใช้คำว่า  หยาดน้ำค้าง มีชื่อเรียก ๒ อย่าง คือ
 - นิคคหิต แปลว่า กดกรณ์ (กรณ์ของนิคคหิต คือ จมูก) คือ เวลาที่ออกเสียงพยัญชนะนี้ ไม่ต้องอ้าปาก ให้ออกเสียงขึ้นจมูก.
- อนุสาร (บางตำรา เช่น สัททนีติปกรณ์ เรียกว่า อนุสวระ) แปลว่า ไปตามสระ คือ พยัญชนะนี้  ต้องประกอบกับรัสสสระ คือ อ  อิ  อุ เสมอ นั่นก็คือ ต้องมีรูปว่า อํ  หรือ อึ  หรือ อุ เสมอไป
อย่างไรก็ตาม ในคัมภีร์ไวยากรณ์ที่เห็นในปัจจุบันนี้ ก็เรียกชื่อแต่ว่า นิคคหิต เท่านั้น ไม่ปรากฏใช้คำว่า อนุสารหรือพินทุ เท่าไรนัก.
นอกจากนี้บางแห่งยังก็เรียกว่า  พินทุ. คำว่า พินทุ  แปลว่า  จุดหรือหยด คือ เป็นวงกลมเล็ก ๆ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต ฯ แปลว่า จุดใต้ตัวอักษร อันนี้น่าจะไม่ตรงกับลักษณะที่ท่านใช้ในภาษาบาลี. 
- พยัญชนะที่เรียกว่า พยัญชนะวรรค  เพราะตัวอักษรในแต่ละวรรคเข้ากันเป็นพวกเป็นหมู่ได้ เพราะมีเสียงคล้ายคลึงกัน และเกิดจากฐาน (ตำแหน่ง) เดียวกัน เช่น  ก  ข  ค  ฆ  ง  นี้ เกิดจากฐาน (เกิดในที่)เดียวกัน คือ เกิดจากคอ เรียกว่า กัณฐฐาน เพราะอาศัยเหตุนี้ อักษรทั้ง ๕ ตัวนี้จึงรวมเรียกชื่อว่า กวรรค ก็โดยการนำอักษรตัวแรกมาตั้งชื่อไว้นั่นเอง, ในการตั้งชื่อ จวรรค เป็นต้น ก็มีวิธีเช่นเดียวกัน. 
- พยัญชนะที่เรียกว่า พยัญชนะอวรรค คือ ย ร ล ว เป็นต้น ไม่สามารถจัดเข้ากันเป็นพวกได้เพราะแต่ละตัวมีเสียงต่างกันและมีฐานที่เกิดไม่เหมือนกัน.

v

ข้อน่ารู้  สระ เรียกว่า นิสสัย เพราะเป็นที่อาศัยของพยัญชนะ คือทำให้พยัญชนะออกเสียงได้ ส่วนพยัญชนะ เรียกว่า นิสสิตะ เพราะต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้. สระกับพยัญชนะ เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยกันและกันเสมอ นั่นก็คือ
สระเป็นอักษรออกเสียงได้ตามลำพัง แต่ทำให้เนื้อความปรากฏไม่ได้ คือให้เข้าใจความหมายไม่ได้ เพราะถ้าไม่มีพยัญชนะมาอาศัย คือประกอบแล้ว เวลาออกเสียงก็จะมีแต่เสียง อ ไปเสียทุกคำ เช่นเวลาจะพูดว่า ไปไหนมา ก็จะเป็นเสียงว่า ไอ ไอ๋ อา ดังนี้ ซึ่งทำให้ความหมายปรากฏได้ไม่ชัดเจนนั่นเอง.
พยัญชนะจะเป็นอักษรที่ทำเนื้อความให้ปรากฏ คือสื่อให้รู้ถึงความหมายที่ประสงค์ได้ ก็เพราะเหตุที่อาศัยสระออกเสียงได้นั่นเอง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น