14/10/56

๕ การจัดกลุ่มอักษรโดย ฐาน กรณ์ และปยตนะ

การแบ่งประเภทแห่งอักษร
          ประเภทแห่งการแบ่งอักษร มี ๒ ประการคือ
                        ๑. โดยสถานที่เกิด เป็นต้น
๒. โดยการออกเสียง
            ๑๕. ประเภทแห่งอักษรโดยสถานที่เกิดเป็นต้น
อักษรหรือเสียงที่แยกเป็นสระและพยัญชนะนั้น จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยองค์ประกอบ ๓ อย่างเหล่านี้
                        ๑.  ฐาน คือ สถานที่อันเป็นที่เกิดของอักษร
                        ๒.  กรณ์  คือ อวัยวะอันเป็นเครื่องกระทำเสียง
                        ๓.  ปยตนะ  คือ  ความพยายามในการเปิดปิดฐานและกรณ์  การทำให้ฐานและกรณ์กระทบกันอย่างหนักๆ และเบาๆ  ซึ่งเป็นกิริยาที่จะต้องใช้ความพยายามในเวลาออกเสียง.
            ฐาน กรณ์และปยตนะ ทั้งสามนี้ เป็นเหตุให้เกิดอักษร อุปมาเหมือนเสียงระฆังจะดังขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบ ๓ อย่างเช่นกัน คือ ๑. ตัวระฆัง  ๒. ไม้ตีระฆัง  ๓.  การออกแรงตี ฉะนั้น.  ฐานเปรียบได้กับตัวระฆัง  กรณ์เปรียบได้กับไม้ตีระฆัง  ปยตนะ เปรียบได้กับการออกแรงตี.
๑๖.    ฐาน อันเป็นสถานที่เกิดของอักษรนั้น ได้แก่ อวัยวะตั้งแต่คอขึ้นไป มี ๖  คือ
๑.     คอ (กัณฐ)
๒.   เพดาน (ตาลุ)
๓.    ปุ่มเหงือก (มุทธะ)
๔.    ฟัน (ทันตะ)
๕.   ริมฝีปาก (โอฏฐะ)
๖.     จมูก (นาสิก)
อักษรแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทตามฐานที่เกิดดังนี้
            ๑. เอกัฏฐานชอักษรที่เกิดในฐานเดียว คือ
อ อา กวรรค  ห             เกิดที่คอ                       ชื่อว่า   กัณฐชะ
อิ อี   จวรรค   ย             เกิดที่เพดาน                 ชื่อว่า   ตาลุชะ
ฏวรรค   ร  ฬ                เกิดที่ปุ่มเหงือก            ชื่อว่า   มุทธชะ
ตวรรค   ล ส                   เกิดที่ฟัน                      ชื่อว่า   ทันตชะ
อุ  อู ปวรรค                    เกิดที่ริมฝีปาก              ชื่อว่า    โอฏฐชะ
อํ                                    เกิดที่จมูก                    ชื่อว่า    นาสิกัฏฐานชะ

๒.   ทวิฏฐานชะ อักษรที่เกิดใน ๒ ฐาน คือ
เอ                     เกิดที่คอและเพดาน                 ชื่อว่า กัณฐตาลุชะ
โอ                    เกิดที่คอและริมฝีปาก              ชื่อว่า กัณโฐฏฐชะ
ว                      เกิดที่ฟันและริมฝีปาก             ชื่อว่า ทันโตฏฐชะ
ง    ณ  น  ม เกิดที่ฐานของตนและจมูก       ชื่อว่า  สกัฏฐานนาสิกัฏฐานชะ
ยังมีฐานอีกประเภทหนึ่งที่นอกเหนือไปจากฐานทั้ง ๖ คือ อุรฐาน คือ อก ซึ่งอักษรที่เกิดในฐานนี้ คือ
อักษรที่ประกอบกับ   ณ  น  ม  ย  ล  ว  ฬ   เกิดที่อก   ชื่อว่า  อุรสิชะ.
            ๑๗.  กรณ์ คือ อวัยวะที่ทำเสียง ได้แก่ ตัวกระทบเสียง มี ๔ ดังนี้ คือ
                        ๑.  ชิวหามัชฌะ  ท่ามกลางลิ้น
                        ๒.  ชิวโหปัคคะ  ใกล้ปลายลิ้น
                        ๓.  ชิวหัคคะ  ปลายลิ้น
                        ๔.  สกัฏฐานะ  ฐานของตน ๆ คือ กัณฐะ คอ  ตาลุ เพดาน เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างกรณ์กับฐาน
                 ท่ามกลางลิ้น    เป็นกรณ์ของ   ตาลุชะ คือ  อิ  อี  จวรรค ย อักษร
                 ใกล้ปลายลิ้น    เป็นกรณ์ของ   มุทธชะ คือ ฏวรรค  ร  ฬ อักษร
                 ปลายลิ้น          เป็นกรณ์ของ   ทันตชะ คือ ตวรรค  ล  ส อักษร
     ฐานของตน     เป็นกรณ์ของ   กัณฐชะ  โอฏฐชะ  นาสิกัฏฐานชะและอักษรที่เกิดใน ๒ ฐานทั้งหมด

            ๑๘.  ปยตนะ  คือ  กริยาที่ปิดเปิดฐานกรณ์ และทำน้ำหนักในการกระทบกันของฐานกรณ์ ปยตนะมี ๔ คือ
                        ๑.  สังวุตตะ คือ ในการออกเสียง   เมื่อออกเสียงแล้วต้องรีบปิดลำคออันเป็นฐานและกรณ์ของ อ อักษรนั้น.
                        ๒.  วิวฏะ  คือ เวลาออกเสียงสระที่เหลือ มีอาเป็นต้น ห อักษรและสอักษร  เมื่อออกเสียงแล้วต้องรีบเปิดฐานและกรณ์ของมัน.
                        ๓.  ผุฏฐัง  คือ  เวลาออกเสียงอักษรพยัญชนะวรรคทั้ง ๒๕ ตัว ต้องพยายามทำให้ฐานและกรณ์กระทบกันหนัก ๆ.

                        ๔.  อีสังผุฏฐัง  คือ เวลาออกเสียง ย ร ล ว ต้องพยายามทำให้ฐานกับกรณ์กระทบกันเพียงเล็กน้อย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น