21/10/56

๑๖. สรสนธิ โลปสรสนธิ - ๒) เชื่อมบทโดยลบสระหลัง

๒)  ลบสระหลัง เพราะสระหน้าที่มีรูปต่างกัน เช่น  อ กับ อิ เป็นต้น ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า
         วา  ปโร  อสรูปา  (กัจจ 13 รูป.15)
         สระ อันเป็นเบื้องหลัง จากสระ อันมีรูปต่างกัน ย่อมถึงการลบไปได้บ้าง.
อธิบาย
            สูตรนี้เป็นวิธีลบสระหลัง เพราะมีสระอยู่หน้า
     คำว่า สระอันมีรูปต่างกัน (อสรูปะ) ได้แก่ สระที่ต่างกันโดยฐานและกรณ์.  ในทางไวยากรณ์มีการจัดแบ่งวัณณะ หรือ คู่อักษรใช้แทนเสียง ไว้ดังนี้ อ อา เป็น อวัณณะ, อิ อี เป็น อิวัณณะ, อุ อู เป็น อุวัณณะ.  ดังนั้น อ และอา เป็น สวัณณะกัน คือ มีวัณณะเหมือนกันโดยฐานและกรณ์,  สระนอกนี้ เป็น อสวัณณะกับ อ อา, สำหรับ อิ อี,  อุ อู ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน. ส่วนเอ และ โอ ไม่ได้จัดเป็นวัณณะใดเลย เพราะมีฐานและกรณ์ไม่เหมือนกับสระอื่น. สรุปได้ว่า อ อา อิ อี อุ อู   มีเสียงอื่นซึ่งไม่เหมือนตน เรียกว่า เป็นอสรูปะ เช่น อ มี อิ อี อุ อู เอ โอ . นั่นก็คือ หลังจาก อ หรือ อา ลบ สระ อิ อี อุ อู เอ โอ,  หลังจาก อิ หรือ อี ลบ อ อา อุ อู  เอ โอ ได้ดังนี้เป็นต้น. หลังจาก เอ และ โอ ลบได้ ก็โดยนัยเช่นนี้ คือ หลังจาก อ ลบ อ อา อิ อี อุ อู และโอ. แต่ในสัททนีติ ท่านกล่าวว่า ระหว่าง เอ กับ เอ, โอ กับ โอ ก็เป็นอสรูปะกัน ฉะนั้น หลังจากเอ ก็ลบ เอ, หลัง โอ ก็ลบ โอได้ด้วย.
    คำว่า ได้บ้าง (วา ศัพท์) นี้ เป็นตัวกำหนดให้เห็นว่า การทำสรสนธิด้วยวิธีลบสระหลังนี้ปรากฏใช้ได้บ้างในบางศัพท์ มิใช่ในทุกศัพท์. คือมีข้อยกเว้นบ้างในบางศัพท์ เช่น 
     ปญฺจินฺทฺริยํ มาจาก ปญฺจ + อินฺทฺริยํ ไม่เป็น ปญฺจนฺทฺริยํ ตามสูตรนี้ เพราะในพระไตรปิฎกปรากฏว่ามีแต่รูป ปญฺจินฺทฺริยํ ซึ่งใช้สูตร สรา สเร โลปํ ทำสนธิ.
         


ศัพท์เหล่านี้เป็นโลปสรสนธิ โดยการลบสระหลัง


ยสส + อิทานิ   เป็น  ยสฺสทานิ
สญฺญา + อิติ  เป็น สญฺญาติ
ฉายา + อิว เป็น ฉายาว
กถา + เอว เป็น กถาว
อิติ + อปิ เป็น อิติปิ
อสฺสมณี + อสิ เป็น อสฺสมณีสิ
อกตญฺญู + อสิ เป็น อกตญฺญูสิ
อากาเส + อิว เป็น อากาเสว
เต + อปิ  เป็น เตปิ
วนฺเท + อหํ เป็น วนฺเทหํ
โส + อหํ  โสหํ
จตฺตาโร + อิเม เป็น จตฺตาโรเม
วสโส + อสิ เป็น วสโลสิ
โมคฺคลาโน + อาสิ เป็น โมคฺคลาโนสิ
ปาโต + เอว  เป็น ปาโตว
จกฺขุ + อินฺทฺริยํ เป็น จกฺขุนฺทฺริยํ*

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น