2/4/64

อภิภายตนะ ๘

    ในที่นี้หมายถึง ฌาน ที่มีชื่อว่า อภิภายตนะ มาจาก อภิภู (อภิ + ภู ธาตุ = ครอบงำ + กฺวิ) การครอบงำหรือธรรมที่ครอบงำ + อายตน (เหตุ และอายตนธรรม) มีความหมายที่อรรถกถาและฏีกาอธิบาย ดังนี้

(อรรถกถานัย)

    ๑.๑ ฌานที่เป็นทั้งการครอบงำและเป็นเหตุ. การครอบงำ คือ  ครอบงำปฏิปักขธรรม (นิวรณ์) และ อารมณ์ ส่วนเหตุ คือ เป็นเหตุแห่งความสุขของพระโยคี,

    ๑.๒ ฌานที่เป็นทั้งการครอบงำและเป็นอายตนะ การครอบงำ เหมือนนัยก่อน ส่วนความเป็นอายตนะ โดยความเป็นมนายตนะและธัมมายตนะ  ดังคัมภีร์อรรถกถาและฏีกาอธิบายว่า

    อภิภายตนานีติ อภิภวนการณานิฯ กิํ อภิภวนฺติ? ปจฺจนีกธมฺเมปิ อารมฺมณานิปิฯ ตานิ หิ ปฏิปกฺขภาเวน ปจฺจนีกธมฺเม อภิภวนฺติ, ปุคฺคลสฺส ญาณุตฺตริยตาย อารมฺมณานิ.

ฌานที่ชื่อว่า อภิภายตนานิ เพราะเป็นทั้งการครอบงำและเป็นเหตุ. ฌานเหล่านี้ครอบงำอะไร? ตอบ ครอบงำ ธรรมที่เป็นข้าศึกบ้าง อารมณ์บ้าง. ความจริง ฌานเหล่านั้นย่อมครอบงำธรรมที่เป็นข้าศึก โดยความเป็นปฏิปักษ์ และย่อมครอบงำอารมณ์ เพราะความที่บุคคลมีปัญญายิ่งแห่งบุคคล. (ที.ม.อ.๑๗๓)

    อารมฺมณาภิภวนโต อภิภุ จ ตํ อายตนญฺจ โยคิโน สุขวิเสสานํ อธิฏฺฐานภาวโต, มนายตนธมฺมายตนภาวโต วาติปิ สสมฺปยุตฺตํ ฌานํ อภิภายตนํฯ เตนาห ‘‘อภิภวนการณานี’’ติอาทิฯ

    ฌานพร้อมทั้งสัมปยุตธรรม ชื่อว่า อภิภายตนะ แม้เพราะเหตุนี้คือ ธรรมที่ครอบงำ เพราะครอบงำอารมณ์ ธรรมที่ครอบงำนั้น เป็นอายตนะ เพราะเป็นที่ตั้งของความสุขพิเศษของพระโยคี, อีกนัยหนึ่ง เพราะเป็นอายตนะคือมนายตนะและธัมมายตนะ. (ที.ม.ฏี.๑๗๓)

    โดยอรรถกถานัย อภิภายตนฌาน เป็นฌานที่ครอบงำโดยอาการ ๒ คือ ครอบงำนิวรณ์ เพราะเป็นปฏิปักขธรรมต่อกัน และครอบงำอารมณ์ เพราะพระโยคีผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีปัญญามาก. อันที่จริง แม้การครอบงำปฏิปักขธรรม ก็มีได้ด้วยกำลังแห่งญาณนั่นเทียว เช่นเดียวกับการครอบงำอารมณ์ ที่มีได้ด้วยกำลังแห่งญาณเหมือนกัน.

(ฏีกานัย)

๒. ฌานที่มีอภิภุ กล่าวคือ บริกรรม (นิมิต) หรือ ญาณ เป็นอายตนะ กล่าวคือ เหตุ.

    อภิภวตีติ อภิภุ, ปริกมฺมํ, ญาณํ วาฯ อภิภุ อายตนํ เอตสฺสาติ อภิภายตนํ, ฌานํฯ 

    สภาวะที่ครอบงำ ชื่อว่า อภิภุ, คือ บริกรรม, หรือ ญาณ. อภิภุ กล่าวคือ บริกรรมหรือญาณ เป็นอายตนะ (เหตุ) ของฌานนี้ เหตุนี้ ฌานนี้ ชื่อว่า อภิภายตนะ.(ที.ม.ฏี.๑๗๓)

๓. ฌานที่มีอารมณ์ที่จะพึงครอบงำเป็นอายตนะ คือ เหตุ

    อภิภวิตพฺพํ วา อารมฺมณสงฺขาตํ อายตนํ เอตสฺสาติ อภิภายตนํฯ (ที.ม.ฏี.๑๗๓)

    โดยฏีกานัย อภิภายตนะ เป็นชื่อของฌานอันประกอบไปด้วยเหตุ อันเป็นธรรมที่ใช้ครอบงำปฏิปักขธรรมและอารมณ์. ธรรมที่เป็นเหตุครอบงำนั้น คือ บริกรรม หรือ ญาณ. และเป็นฌานที่ประกอบด้วยอารมณ์ที่จะพึงถูกครอบงำ. อภิภายตนฌาน เป็นไป ๘ อย่างโดยเริ่มที่การครอบงำรูปกรรมฐานภายในที่เคยบรรลุเพื่อบรรลุรูปภายนอกที่ใหญ่กว่าเป็นต้น.

    ส่วนอรรถกถามหานิทเทสอธิบายสรุปว่า 

    อภิภายตนานนฺติ เอตฺถ อภิภูตานิ อายตนานิ เอเตสํ ฌานานนฺติ อภิภายตนานิ, ฌานานิฯ อายตนานีติ อธิฏฺฐานฏฺเฐน อายตนสงฺขาตานิ กสิณารมฺมณานิฯ ญาณุตฺตริโก หิ ปุคฺคโล วิสทญาโณติ กิํ เอตฺถ อารมฺมเณ สมาปชฺชิตพฺพํ, น มยิ จิตฺเตกคฺคตากรเณ ภาโร อตฺถีติ ตานิ อารมฺมณานิ อภิภวิตฺวา สมาปชฺชติฯ สห นิมิตฺตุปฺปาเทเนเวตฺถ อปฺปนํ นิพฺพตฺเตตีติ อตฺโถฯ เอวํ อุปฺปาทิตานิ ฌานานิ อภิภายตนานีติ วุจฺจนฺติฯ 

    ฌานเหล่านี้ ชื่อว่า อภิภายตนะ เพราะมีอารมณ์อันถูกครอบงำเป็นอายตนะ. คำว่า อายตนะ หมายถึง อารมณ์กล่าวคือกสิณ ที่เรียกว่า อายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง. เพราะบุคคลผู้มีญาณยิ่ง คือ มีปัญญาแก่กล้า ครอบงำอารมณ์เหล่านั้นเข้าฌานด้วยคิดว่า เราพึงเข้าในอารมณ์นี้หรือ, การกระทำให้เป็นจิตเป็นสมาธิไม่ใช่ของหนักสำหรับเรา. หมายความว่า ทำอัปปนาให้เกิดพร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งนิมิตนั้นในอารมณ์นี้นั่นเทียว. ฌานที่พระโยคีให้เกิดในลักษณะนี้ เรียกว่า อภิภายตนะ.

***

9/12/63

๙ ธันวาคม ๖๓

คัมภีร์ชาดก ข้อที่ ๙ เรื่องที่ ๙ ว่าด้วยพระเจ้ามฆเทวะ

(พระราชาทรงจับพระเกสาหงอกแล้ว ตรัสแก่อำมาตย์ทั้งหลายว่า)

[๙] เมื่อวัยล่วงเลยไป ผมบนศีรษะของเราก็หงอกเทวทูตก็ปรากฏชัด บัดนี้เป็นเวลาที่เราควรจะบวช

[ขุ.ชา. ๒๗/๙. มฆเทวชาดก ฉบับมหาจุฬาฯ]

***

บัณฑิตแต่กาลก่อน เพราะเห็นเส้นผมหงอกเพียงเส้นเดียว กลับได้ธรรมสังเวช ไม่ประมาทในวัย ไม่หลงลืมว่า ชราและมรณะกำลังคืบคลานเข้ามาอย่างรวดเร็ว กิจที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน คือ แสวงหามรรคาเพื่อเดินออกจากทุกข์คือชราและมรณะเหล่านั้น.

.....คิดถึงตัวเอง......

ความเป็นหนุ่มสาว ความไม่มีโรค และชีวิตที่ยังเป็นอยู่ ๓ ประการนี้ ซึ่งแฝงมากับตนตั้งแต่ได้อัตภาพนี้ในวันแรก จะกลายเป็นเครื่องมัวเมาที่ลึกกว่าเครื่องดองของเมาใดๆในโลก และไม่รู้สึกตัวเลยว่ากำลังเสพของมึนเมา

มีอยู่ ๓ อย่าง คือ

ความเมาในความเป็นหนุ่มสาว ๑

ความเมาในความไม่มีโรค ๑

ความเมาในชีวิต ๑

ความเมาในสิ่งที่เป็นธรรมดาเหล่านีัแหละ เป็นเหตุให้ประพฤติทุจริต คือ ความประพฤติผิดทางกาย วาจา และใจ ซึ่งจะทำให้เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต และนรก ได้.

(อัง.ติก.๒๐/๔๗๘ สุขุมาลสูตร)

ใครเล่าจะนึกถึงว่า ความเมาในสิ่งที่เป็นธรรมดาเหล่านีั ก่อให้เกิดมากมายเห็นปานนั้น หากแต่ได้รับคำแนะนำจากพระพุทธเจ้า ผู้พระบรมศาสดา จึงเห็นแจ้ง เห็นโทษ ระมัดระวังมิให้สิ่งเหล่านี้กลายเป็นความเมาได้.

เราท่านในฐานะพุทธสาวก ได้รับฟังธรรม ได้รู้เช่นนี้แล้ว พึงกำราบความเมาแล้วดำเนินไปตามหนทางที่ทรงปรารภพระองค์เองโอวาทพุทธบริษัทว่า

ก็การที่เราพึงรังเกียจความป่วยไข้ ความแก่ และความตายนี้ ในหมู่สัตว์ซึ่งมีธรรมดาอย่างนี้

ไม่สมควรแก่เราผู้มีปรกติอยู่เช่นนี้

เรานั้นเป็นอยู่เช่นนี้ รู้จักธรรมที่หมดอุปธิ เห็นเนกขัมมะโดยความเป็นธรรมเกษม ย่อมครอบงำความเมาในความไม่มีโรคใ นความเป็นหนุ่มสาว และในชีวิตเสียได้ทั้งหมด

ความอุตสาหะได้เกิดแล้วแก่เราผู้เห็นนิพพานด้วยปัญญาอันยิ่ง

บัดนี้เราไม่ควรที่จะกลับไปเสพกาม เราจักเป็นผู้ไม่ถอยหลัง จัก เป็นผู้มีพรหมจรรย์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ฯ

(อัง.ติก.๒๐/๔๗๘ สุขุมาลสูตร)

***

มาเถิด พวกเรามา มาดำรงอยู่ในธรรมพระพุทธองค์ทรงสอนไว้เถิด

มีเวลาเท่าไรทำบุญสะสมไว้ให้ได้มากที่สุด

เริ่มตั้งแต่ทาน ศีล สั่งสมสุตะ ศึกษาพระธรรมคำสอนให้เข้าใจ น้อมนำไปปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์.

อย่าเพิ่งคิดว่า ตนเองเป็นคนหนุ่มสาว ยังแข็งแรง มีโรคน้อย ยังเป็นอยู่อีกนาน ไม่ต้องรีบทำอะไร.

ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

24/5/59

อชฺชตคฺเค เริ่มแต่วันนี้

อชฺชตคฺเค เริ่มแต่วันนี้

เคยสงสัยเรื่องการสำเร็จรูปนี้อยู่ ครั้นได้ลงมือเรียบเรียงบทความบาฬีไวยากรณ์ ตามแนวทางโมคคัลลานะ จากคัมภีร์นิรุตติทีปนี จึงได้พบแนวทาง ให้ค้นคว้าต่อ เห็นว่า ถ้าจะปล่อยให้ผ่านไป คงจะหายไปกับความทรงจำเป็นแน่แท้..  
คัมภีร์นิรุตติทีปนี ท่านแสดงศัพท์นี้ไว้ในภายใต้หัวข้อเรื่อง การลง ต อาคม.  แต่วิธีการของท่านดูเหมือนจะต่างจากคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา ที่เป็นที่มาของศัพท์นี้ ข้าพเจ้า จึงได้หยิบที่มาของศัพท์นี้ที่ว่าต่างกัน แล้วนำมาคุยสนทนาท่านผู้อ่าน ได้ดังนี้ 

------

สริสปา สริํสปา สรีสปา .... อย่างไรแน่

สริสปา สริํสปา สรีสปา .... อย่างไรแน่

ข้าพเจ้าเรียบเรียงคัมภีร์นิรุตติทีปนี หลักไวยากรณ์บาฬี สายโมคคัลลานะ เจอศัพท์นี้ สริสปา สรีสปา สริํสปา ก็เลยอดจะเอามาเล่าสู่กันฟังไม่ได้ครับ 

ธมฺมิกถา , ธมฺมกถา , ธมฺมี กถา เหมือนหรือต่างกัน

บทความพิเศษ
ขอตั้งปัญหาโดยสรุปว่า ธมฺมิกถา ธมฺมกถา หรือ ธมฺมี กถา อย่างไหนถูกมีที่มา ๓ แห่ง คือ
หลักไวยากรณ์ :  ธมฺมิกถา
พระบาฬี :  ธมฺมิกถา (สยามรัฐบางเล่ม) ธมฺมี กถา (ฉัฏฐสังคายนาทุกเล่ม)  ก็มี ธมฺมกถา ก็มี
อรรถกถา : ธมฺมกถา (คำอธิบายของ ธมฺมี กถา)
ข้าพเจ้าเมื่อเขียนบทความเรื่อง “ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี” ก็พบอุทาหรณ์หนึ่งในตอนว่าด้วย การลง สระอิเป็นอาคม

อินฺทฺรืย มาจากไหน

#ศัพท์บาฬีน่ารู้
“อินฺทรฺิย”  มีความหมายตามรากศัพท์

อินฺทฺริย เป็นนามศัพท์ที่มีขัันตอนในการสำเร็จรูปมากและมีความหมายที่หลากหลาย. คัมภีร์ไวยากรณ์และคัมภีร์ฝ่ายพระอภิธรรม ได้ให้ความหมายไว้เป็น ๒ แบบ คือ ชนิดที่สำเร็จรูปมาจากธาตุ, นามศัพท์ และปัจจัย (นิปผันนปาฏิปทิกะ) และ ไม่สำเร็จรูปมาจากธาตุเป็นต้น (อนิปผันนปาฏิปทิกะ).
๑. กรณีที่มาจากนามศัพท์และธาตุลงปัจจัย (นิปผันนปาฏิปทิกะ).

9/5/59

อิตฺถิปจฺจยราสิ กลุ่มศัพท์ที่ลงปัจจัยในอิตถีลิงค์

อิตฺถิปจฺจยราสิ
กลุ่มศัพท์ที่ลงปัจจัยในอิตถีลิงค์

๗๐. อิตฺถิยมตฺวา [1]
๗๐. ลง อาปัจจัย ในอิตถีลิงค์ ท้ายนามศัพท์อการันต์

อิตฺถิยํ+อโต+อาติ เฉโทฯ อการนฺตนามมฺหา อิตฺถิยํ อาปจฺจโย โหติฯ
สูตรนี้ตัดบทเป็น อิตฺถิยํ + อโต + อา. ความหมายคือ อาปัจจัย ย่อมลง ในอิตถีลิงค์ ท้ายนามศัพท์ที่เป็นอการันต์.

12/4/59

นิรุตติทีปนี แปล

อาคมสนฺธิ
อาคมสนธิ คือ วิธีการเชื่อมบทโดยเพิ่มอักษร
อถาคมสนฺธิ ทีปิยเตฯ
ต่อจากอาเทสสนธิ จะแสดงอาคมสนธิ

มหาวุตฺตินา สราคโม
สระเป็นอาคม  ถูกทำได้โดยสูตรใหญ่

(สระ) อ เป็นอาคม

ปณฺณสาลํ อมาเปตฺวา[i], ปณฺณสาลํ อมาปิย[ii]มาเปตฺวา อิจฺเจวตฺโถ, น จาปิ อปุนปฺปุนํ, หตฺถิโพนฺทิํ ปเวกฺขามิ [iii]-ปุนปฺปุนํ อิจฺเจวตฺโถ, นตฺถิ โลเก อนามตํ[iv]อมต ปุพฺพํ ฐานนฺติ อตฺโถ, อนวชฺชํ, อนมตคฺโค, ชจฺจนฺโธ, ชจฺจพธิโร, ชจฺจมูโค, ชจฺจปณฺฑโกฯ

ตัวอย่าง
ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ปณฺณสาลํ อมาเปตฺวา,
อ + มาเปตฺวา
เนรมิตแล้วซึ่งบรรณศาลา
ปณฺณสาลํ อมาปิย
อ + มาปิย (ตฺวา)
เนรมิตแล้วซึ่งบรรณศาลา
คำนี้คือ มาเปตฺวา นั่นเอง
น จาปิ อปุนปฺปุนํ,
หตฺถิโพนฺทิํ ปเวกฺขามิ
อ + ปุนปฺปุนํ
แม้ข้าพเจ้าจะไม่เข้าไปสู่ซากช้างนั้นอีก
คำว่า อปุนปฺปุนํ คือ ปุนปฺปุนํ นั่นเอง
นตฺถิ โลเก อนามตํ
น + อมตํ
สถานที่ไม่ตายไม่มีในโลก
คำว่า อนามตํ คือ ที่ไม่เคยตาย
อนวชฺชํ,
น + อวชฺชํ
ไม่มีโทษ
อนมตคฺโค,
น + อมตคฺโค
มีที่สุดอันใครรู้ไม่ได้
ชจฺจนฺโธ,
ชาติ +  อ +อนฺโธ
บอดแต่กำเนิด
ชจฺจพธิโร,
ชาติ + อ +พธิโร
หนวกแต่กำเนิด
ชจฺจมูโค,
ชาติ + อ+ มูโค
ใบ้แต่กำเนิด
ชจฺจปณฺฑโกฯ
ชาติ + อ+ ปณฺฑโก
เป็นบัณเฑาะก์แต่กำเนิด


อา
(สระ) อา เป็นอาคม

อฑฺเฒ อาชายเร กุเล[i], มนุสฺเสสุ ปจฺจาชาโต, อาปูรติ ตสฺส ยโส [ii]
ตัวอย่าง

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
อฑฺเฒ อาชายเร กุเล
อา + ชายเร
พึงเกิดในตระกูลมั่งคั่ง
มนุสฺเสสุ ปจฺจาชาโต
ปติ>ปจฺจ + อา + ชาโต
ผู้กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์อีก
อาปูรติ ตสฺส ยโส
อา + ปูรติ
ยศของเขาย่อมบริบูรณ์

อิ
(สระ) อิ เป็นอาคม

ธมฺมิกถํ กตฺวา[iii], สรนฺตา สปนฺติ คจฺฉนฺตีติ สริสปาฯ
ตัวอย่าง
ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ธมฺมิกถํ กตฺวา
ธมฺม + อิ + กถํ
ทำธรรมกถา (การแสดงธรรม ชื่อว่า ธรรมกถา) , กถาประกอบด้วยธรรมต่าง ๆ
สรนฺตา สปนฺติ คจฺฉนฺตีติ สริสปา
สร + อิ + สปา
สัตว์ที่เลื้อยไป ชื่อว่า สริสปา ได้แก่ งู


อี
สระ อี เป็น อาคม

กพฬีกาโร, มนสีกาโร, มนสีกโรติ, ตปฺปากฏีกโรติ, ทูรีภูโต, อพฺยยีภาโว ฯ
ตัวอย่าง
ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
กพฬีกาโร
กพฬ + อี + กาโร
อาหารที่ถูกทำให้เป็นก้อน
มนสีกาโร,
มน + สิ (สฺมิ) + อี + กาโร
การทำไว้ในใจ การตั้งไว้ในใจ
มนสีกโรติ,
มน + สิ (สฺมึ) + อี + กโรติ
ย่อมทำไว้ในใจ, ย่อมตั้งไว้ในใจ
ตปฺปากฏีกโรติ,
ตปฺปากฏ + อี + กโรติ
ย่อมทำสิ่งนั้นให้ปรากฏ
อพฺยยีภาโว
อพฺยย + อี + ภาโว
ความเป็นสิ่งที่ไม่เปลี่ยน, อัพยยีภาวะ
ทูรีภูโตฯ
ทูร + ภูโต
สิ่งมีในที่ไกล
อุ
(สระ) อุ เป็นอาคม

ญาติปริชินสฺส ภาโว ญาติปาริชุญฺญํ, เอวํ โภคปาริชุญฺญํ- ปริชินสฺสาติ ปริหานสฺส, ปริกฺขยสฺสฯ
ตัวอย่าง

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ญาติปาริชุญฺญํ
ญาติปาริช+อุ+ญฺญ
ญาติปริชินสฺส ภาโว ญาติปาริชุญฺญํ
ความเป็นแห่งบุคคลผู้เสื่อมญาติ ชื่อว่า ญาติปาริชุญฺญํ ความเสื่อมจากญาติ
โภคปาริชุญฺญํ

โภคปาริช+อุ+ญฺญ
ปริชินสฺสาติ ปริหานสฺส, ปริกฺขยสฺส
คำว่า โภคปาริชุญฺญํ แปลว่า ความเสื่อม ได้แก่ สิ้นไปแห่งโภคะ ก็มีรูปวิเคราะห์เหมือน ญาติปาริชุญฺญํ
ในที่นี้ คำว่า ปริชินสฺส หมายถึง ปริหานสฺส แปลว่า ผู้เสื่อม คือ เป็นผู้หมดสิ้นแล้ว

โอ
(สระ) โอ เป็นอาคม

ปโรสตํ, สรโทสตํ, ทิโสทิสํ[iv] อิจฺจาทิฯ
ตัวอย่าง
ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ปโรสตํ,
ปร + โอ + สตํ
เกินกว่าร้อย
สรโทสตํ,
สรท + โอ + สตํ
เกินร้อยปี
ทิโสทิสํ
ทิส + โอ + ทิสํ
ทิศน้อยทิศใหญ่, (ความหมายคือ ทั่วทุกทิศ)


อติปฺปโค โข ตาว ปิณฺฑาย จริตุ[v]นฺติ เอตฺถ ปาโตตฺโถ ปโคสทฺโท เอวฯ
ในพระบาฬีนี้ อติปฺปโค โข ตาว ปิณฺฑาย จริตุํ “เช้าเกินไปที่จะไปบิณฑบาตร”. คำว่า ปโค มีความหมายว่า เช้า เท่านั้น

อิติ สราคมราสิฯ
กลุ่มศัพท์ที่มีการสนธิโดยลงสระเป็นอาคม อย่างนี้
๕๐. วนตรคา จาคมา
สเร ปเร ว น, , , คา จ ม, , ทา จ อาคมา โหนฺติฯ
เพราะสระอันเป็นเบื้องหลัง พยัญชนะเหล่านี้ คือ ว, น, ต, ร, ค (กลุ่มหนึ่ง), และ ย ท (อีกกลุ่มหนึ่ง) เป็นอักษรอาคม.

โค, โต, โท, โน, โม, โย, โร, โว,
(สูตรนี้ มีพยัญชนะเหล่านี้ คือ)  ค ต ท น ม ย ร และ ว (เป็นอักษรอาคม)

ตตฺถ โค
อริเยหิ ปุถเควายํ ชโนติ ปุถุชฺชโน[vi],
บรรดาพยัญชนอาคมเหล่านั้น  ค เป็นอักษรอาคม (ในตัวอย่างเหล่านี้)

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
อริเยหิ ปุถเควายํ ชโนติ ปุุถุชฺชโน
ปุถ + ค + เอว + อยํ
บุคคลนี้เป็นอีกพวกหนึ่งจากพระอริยท. นั่นเทียว เหตุนั้น จึงได้ชื่อว่า ปุถุชน

อิธ ปน ปโคสทฺโท เอว, ปเคว วุตฺยสฺส, ปเคว มนุสฺสิตฺถิยาติ[vii].
ปโคศัพท์นั่นแหละ เป็น ปเคว ในตัวอย่างเหล่านี้ คือ

ปเคว วุตฺยสฺส
การเกิดขึ้น (ของบุคคลนั้น) ก่อน บุคคลอื่นนั่นเทียว.

ปเคว มนุสฺสิตฺถิยา
กล่าวไปใยถึงหญิงมนุษย์


*****







โต
ต เป็นพยัญชนอาคม

อชฺชตคฺเค[viii], ตสฺมาติห[ix], กตโม นาม โส รุกฺโข, ยสฺส เตวํ คตํ ผลํ [x]-เตวนฺติ เอวํฯ
ตัวอย่าง
ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
อชฺชตคฺเค (๑)
อชฺช + ต + อคฺเค
วันนี้เป็นวันแรก, เริ่มแต่วันนี้เป็นต้นไป
ตสฺมาติห
ตสฺมา + ต + อิห
เพราะเหตุนั้น ในที่นี้
กตโม นาม โส รุกฺโข,
ยสฺส เตวํ คตํ ผลํ (๒)
เอ + ต + วํ (เอวํ+ต)
ต้นไม้ของท่านที่มีผลเป็นรูปอย่างนี้ พวกไหน
(แปลตามปาฐะปัจจุบ้นว่า “ดูก่อนท่านผู้เจริญ” ในที่นี้แปลตามปาฐะในคัมภีร์นี้)
คำว่า เตวํ คือ เอวํ เมื่อลง ต อาคม จึงเป็น เตวํ

(๑)อชฺชตคฺเค คัมภีร์อรรถกถาทั้งหลายกล่าวว่า มาจาก อชฺชตํ + อคฺเค แต่บางปาฐะเป็น อชฺชทคฺเค ในปาฐะนี้ตัดเป็น อชฺช + อคฺเค โดยลง ทอาคม (ม.มู.อ. ๑/๕๖ สัพพาสวสูตร-อุปาสกวิธิกถาวณฺณนา).

ม.มู.อ. ๑/๕๖ สัพพาสวสูตร - อุปาสกวิธิกถาวณฺณนา
ตสฺมา อชฺชตคฺเคติ อชฺชตํ อาทิํ กตฺวา, เอวเมตฺถ อตฺโถ เวทิตพฺโพฯ อชฺชตนฺติ อชฺชภาวํฯ อชฺชทคฺเคติ วา ปาโฐ, ท-กาโร ปทสนฺธิกโร, อชฺช อคฺคํ กตฺวาติ อตฺโถฯ

 (๒)ในตัวอย่างนี้ บาฬีชาดกเป็น
๑๐. “อมฺโภ โก นาม โส รุกฺโข,   ยสฺส เตวํคตํ ผลํ.
ดูก่อนท่านผู้เจริญ ต้นไม้ของท่านที่มีผลเป็นรูปอย่างนี้ มีชื่อว่าอะไร
ในที่นี้แปลตามปาฐะในคัมภีร์นี้
-----------------------------

โท
ท เป็น พยัญชนอาคม

อุทคฺโค, อุทพฺพหิ, อุทปาทิ, อุทโย, อุทาหโฏ, อุทิโต, อุทีริโต, ทุภโต วุฏฺฐานํ[xi], ทุภยานิ วิเจยฺย ปณฺฑรานิ[xii], โตเทยฺยกปฺปา ทุภโย[xiii]เทฺว อิสโยติ อตฺโถฯ กิญฺจิเทว, โกจิเทว, กิสฺมิญฺจิเทว, ยาวเทว, ตาวเทว, วลุตฺเต-ยาวเท, ตาวเทติ สิทฺธํ, ปุนเทว, สกิเทว, สมฺมเทว-ทาคเม รสฺโส, สมฺมทกฺขาโต[xiv],         สมฺมทญฺญา วิมุตฺโต[xv], พหุเทว รตฺติํ[xvi], อหุเทว ภยํ [xvii] อิจฺจาทิฯ

ตัวอย่าง
ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
อุทคฺโค
อุ + ท + อคฺโค
สูง
อุทพฺพหิ
อุ + ท + อพฺพหิ
เพิกถอน, ดึง, นำออก
อุทปาทิ
อุ + ท + อปาทิ
บังเกิดขึ้น
อุทโย
อุ + ท + อโย
การขึ้น.
อุทาหโฏ
อุ + ท + อาหโฏ
เปล่งเสียง, นำมากล่าวอ้าง (๑) 
อุทิโต
อุ + ท + อิโต
ขึ้นไป, (๒) 
อุทีริโต
อุ + ท + อีริโต
กล่าวแล้ว
ทุภโต วุฏฺฐานํ
ท + อุภโต วุฏฺฐานํ
ออกจากส่วนสอง คือกิเลสและสังขาร (๓)
ทุภยานิ วิเจยฺย ปณฺฑรานิ
ท + อุภยานิ วิเจยฺย ปณฺฑรานิ
บุคคลพิจารณาอายตนะทั้ง ๒ ประการ คือ อายตนะทั้งภายในและภายนอกแล้ว
โตเทยฺยกปฺปา ทุภโย
โตเทยฺยกปฺปา + ท +อุภโย
สองพราหมณ์ คือ โตเทยยะและกัปปะ.  คำว่า ทุภโย ในบาฬีนี้ได้แก่ เทฺว อิสโย แปลว่า พราหมณ์ผู้เป็นฤาษีสองท่าน. (๔)
กิญฺจิเทว
กิญฺจิ + ท + เอว
บางสิ่งนั่นเทียว
โกจิเทว
โกจิ + ท + เอว
บางคนนั่นเทียว
กิสฺมิญฺจิเทว
กิสฺมิญฺจิ + ท + เอว
ในบางอย่างนั่นเทียว
ยาวเทว
ยาว + ท + เอว
มีประมาณเพียงใด
ตาวเทว
ตาว + ท + เอว
มีประมาณเพียงนั้น
ในบางรูปลบ ว สำเร็จรูปเป็น ยาวเท, ตาวเท ก็มี
ปุนเทว
ปุน + ท + เอว
อีกครั้งหนึ่ง
สกิเทว
สกิํ + ท + เอว
ครั้งเดียวเท่านั้น
สมฺมเทว.
สมฺมา + ท + เอว
โดยชอบนั่นเทียว.
รูปนี้ รัสสะเป็น สมฺม เพราะทอาคม
สมฺมทกฺขาโต
สมฺมา + ท + อกฺขาโต
กล่าวแล้วโดยชอบนั่นเทียว
สมฺมทญฺญา วิมุตฺโต
สมฺมา + ท + อญฺญา วิมุตฺโต
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ยิ่งโดยชอบนั่นเทียว
พหุเทว รตฺติํ
พหุ + ท + เอว รตฺติํ
สิ้นราตรีเป็นอันมากนั่นเทียว
อหุเทว ภยํ 
อหุ + ท + เอว ภยํ
ภัยได้มีแล้ว

(๑) รูปนี้มี ๒ ความหมาย คือ นำมา และ กล่าว โดย หร ที่มีอรรถว่า นำมา ถ้ามี วิ และ อา เป็นบทหน้า มีอรรถว่า พูด.
(๒) อุทิโต ที่มีคำแปลว่า ขึ้นไป ถือว่า ลงอาคม ด้วยสูตรนี้ แต่คำว่า อุทิโต นี้บางแห่งคำแปลว่า พูด ไม่เข้าเกณฑ์ของสูตรนี้ เพราะมาจาก วท ธาตุ อยู่แล้ว โดยแปลง ว เป็น อุ. (ธาน.ฎี. ๗๙๙),
(๓) องค์มรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นที่ออกจากธรรม ๒ คือ ปฏิปักขธรรมขององค์มรรคมีมิจฉาทิฏฐิเป็นต้น พร้อมทั้งกิเลสขันธ์ที่เป็นไปร่วมกับมิจฉาทิฏฐินั้นและ สังขารทั้งปวง ชื่้อว่า ทุภโต วุฏฺฐานํ , ส่วนคัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวว่า ได้แก่ มรรคญาณทั้ง ๔.
(๔) ฤาษี คือ ผู้แสวงหาคุณ
------------------------------------------
โน
น เป็น พยัญชนอาคม
อิโต นายติ, จิรํ นายติ, กมฺเม สาธุ กมฺมนิยํ กมฺมญฺญํ, อตฺตโน อิทํ อตฺตนิยํ, อทฺธานํ ขมตีติ อทฺธนิยํ, โลภสฺส หิตํ โลภนิยํ โลภเนยฺยํ, โทสนิยํ โทสเนยฺยํ, โมหนิยํ โมหเนยฺยํ, โอฆนิยํ, โยคนิยํ, คนฺถนิยํ, นิทฺธุนนํ นิทฺธุนนโก, สญฺชานนํ, สญฺชานนโก, สญฺญาปนโก อิจฺจาทิฯ
ตัวอย่าง
ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
อิโต นายติ,
อิโต + อายติ
ย่อมมาจากที่นี้
จิรํ นายติ,
จิรํ + อายต
ย่อมมานาน
กมฺเม สาธุ กมฺมนิยํ
กมฺม + อิย
ความดีในการงาน ชื่อว่า กมฺมนิยํ,
กมฺมญฺญํ,
กมฺม + อิย
รูปว่า กมฺมญฺญํ ก็มี
อตฺตโน อิทํ อตฺตนิยํ,
อตฺตา + อิย
สิ่งนี้ของตน ชื่อว่า อตฺตนิยํ
อทฺธานํ ขมตีติ อทฺธนิยํ,
อทฺธา + อิย
ย่อมควร แก่ทางไกล ชื่อว่า อทฺธนิยํ
โลภสฺส หิตํ โลภนิยํ
โลภ + อิย
เกื้อกูลแก่โลภะ ชื่อว่า โลภนิยํ
โลภเนยฺยํ,
โลภ + เอยฺย
เกื้อกูลแก่โลภะ
โทสนิยํ
โทส + อิย
เกื้อกูลแก่โทสะ
โทสเนยฺยํ,
โทส + เอยฺย
เกื้อกูลแก่โทสะ
โมหนิยํ
โมห + อิย
เกื้อกูลแก่โมหะ
โมหเนยฺยํ,
โมห + เอยฺย
เกื้อกูลแก่โมหะ
โอฆนิยํ,
โอฆ + อิย
เกื้อกูลแก่โอฆะ
โยคนิยํ,
โยค + อิย
เกื้อกูลแก่โยคะ
คนฺถนิยํ,
คนฺถ + อิย
เกื้อกูลแก่คันถะ
นิทฺธุนนํ,
นิทฺธุ + น + อน
สะบัด, หวั่นไหว
นิทฺธุนนโก,
นิ + ธุ + น + อน + ก
สะบัด, หวั่นไหว
สญฺชานนํ,
สํ + ญา + นํ
การรู้
สญฺชานนโก,
สํ + ญา + น + ก
การหมายรู้
สญฺญาปนโก
สํ + ญาป + อก
การบอกให้รู้
โม
ลง ม เป็นอาคม

ลหุเมสฺสติ[xviii], ครุเมสฺสติ, มคฺคมตฺถิ[xix], อคฺคมกฺขายติ[xx], อุรคามิว[xxi], อรหตามิว [xxii] อิจฺจาทีนิฯ
ตัวอย่าง
ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ลหุเมสฺสติ
ลหุ + เอสฺสติ
จักถึง ช้า
ครุเมสฺสติ,
ครุ + เอสฺสติ
จักถึง เร็ว
มคฺคมตฺถิ
มคฺโค + อตฺถิ
หนทาง มีอยู่
อคฺคมกฺขายติ
อคฺโค + อกฺขายติ
อันเรา ย่อมกล่าวว่าเป็นเลิศ
อุรคามิว
อุรคา + อิว
เหมือนงู
อรหตามิว  อิจฺจาทีนิฯ
อรหตา + อิว
ดังพระอรหันต์

ตถา เกน เต อิธ มิชฺฌติ[xxiii], รูปานิ มนุปสฺสติ[xxiv], อากาเส มภิปูชเย, อญฺญมญฺญสฺส[xxv], เอกเมกสฺส[xxvi], สมณมจโล, อทุกฺขมสุขา เวทนา[xxvii] อิจฺจาทิฯ
แม้ตัวอย่างเหล่านี้ ก็ลง ม อาคมเหมือนกัน

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
เกน เต อิธ มิชฺฌติ
เกน เต อิธ + อิชฺฌติ
ย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะบุญอะไร
รูปานิ มนุปสฺสติ
รูปานิ + อนุปสฺสติ
ย่อมเห็นรูปท. (ด้วยจักขุปสาทรูปใด)
อากาเสมภิปูชเย,
อากาเส + อภิปูชเย
พึงบูชาในอากาศ
อญฺญมญฺญสฺส
อญฺญ + อญฺญสฺส
ต่อกันและกัน
เอกเมกสฺส
เอก + เอกสฺส
แก่คนหนึ่งๆ
สมณมจโล,
สมณ + อจโล
สมณะผู้ไม่หวั่นไหว
อทุกฺขมสุขา เวทนา
อทุกฺข + อสุขา เวทนา
อทุกขมสุขเวทนา








โย
ย เป็นอาคม

นยิมสฺส วิชฺชามยมตฺถิ[xxviii], ยถยิทํ[xxix],ตถยิทํ, ฉยิเม ธมฺมา[xxx], นวยิเม ธมฺมา[xxxi], ทสยิเม ธมฺมา[xxxii],มมยิทํ, โสเยว, เตเยว, ตํเยว ตญฺเญว, เตหิเยว, เตสํเยว เตสญฺเญว, ตสฺมิเยว, พุทฺโธเยว, พุทฺเธสุเยว, โพธิยาเยว การณา[xxxiii], โหติเยว, อตฺถิเยว อิจฺจาทิฯ
ตัวอย่างเหล่านี้เป็นรูปที่มีการลง ย อาคม เช่น
ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
นยิมสฺส วิชฺชามยมตฺถิ
น + อิมสฺส วิชฺชามยมตฺถิ
ดาบสนี้ไม่มีการงานใดที่สำเร็จจากวิชชา
ยถยิทํ
ยถา + อิทํ
สิ่งนี้ย่อมมีโดยประการใด
ตถยิทํ
ตถา + อิทํ
สิ่งนี้ย่อมมีโดยประการนั้น
ฉยิเม ธมฺมา
ฉ + อิเม ธมฺมา
ธรรม ๖ ประการเหล่านี้
นวยิเม ธมฺมา
นว + อิเม ธมฺม
ธรรม ๙ ประการเหล่านี้
ทสยิเม ธมฺมา
ทส + อิเม ธมฺมา
ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้
มมยิทํ,
มม + อิทํ
สิ่งนี้เป็นของเรา
โสเยว,
โส + เอว
เขานั่นเทียว
เตเยว,
เต + เอว
เขาท.นั่นเทียว
ตํเยว ตญฺเญว,
ตํ + เอว
สิ่งนั้นนั่นเทียว เป็น ตญฺเญว ก็มี
เตหิเยว,
เตหิ + เอว
กับด้วยสิ่งนั้นนั่นเทียว
เตสํเยว เตสญฺเญว,
เตสํ + เอว
ของสิ่งเหล่านั้นนั่นเทียว เป็น เตสญฺเญว ก็มี
ตสฺมิเยว,
ตสฺมิํ + เอว
ในสิ่งนั้นนั่นเทียว
พุทฺโธเยว,
พุทฺโธ เอว
พระพุทธเจ้านั่นเทียว
พุทฺเธสุเยว,
พุทฺเธสุ เอว
ในพระพุทธเจ้าท.นั่นเทียว
โพธิยาเยว การณา,
โพธิยา + เอว การณา
เพราะเหตุแห่งโพธิญาณนั่นเทียว
โหติเยว,
โหติ + เอว
ย่อมมีนั่นเทียว
อตฺถิเยว
อตฺถิ + เอว
มีอยู่นั่นเทียว

ติยนฺตํ, อคฺคิยาคาเร, จตุตฺถียตฺเถ อิจฺจาทีนิ อิวณฺณนฺตรูปานิ ยาคเมนาปิ สิชฺฌนฺติเยวฯ
ตัวอย่างของทที่มีอิวัณณะเป็นที่สุด (อิ – อีการันต์) ที่สำเร็จโดยการลง ย อาคมเช่นกัน คือ

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ติยนฺตํ,
ติ + อนฺตํ
ที่สุด ๓ ประการ
อคฺคิยาคาเร,
อคฺคิ + อาคาเร
ในเรือนไฟ
จตุตฺถียตฺเถ
จตุตฺถี + อตฺเถ
ในอรรถแห่งจตุตถีวิภัตติ.
โร
ร เป็น อาคม

นิรนฺตรํ, นิรตฺถกํ, นิราหาโร, นิราพาโธ, นิราลโย, นิรินฺธโน อคฺคิ, นิรีหกํ, นิรุทกํ, นิรุตฺติ, นิรุตฺตโร,                 นิรูมิกา นที, นิโรชํ, ทุรติกฺกโม, ทุรภิสมฺภโว, ทุราสทา พุทฺธา[xxxiv], ทุราขฺยาโต ธมฺโม[xxxv], ทุราคตํ, ทุรุตฺตํ วจนํ[xxxvi], ปาตุรโหสิ[xxxvii], ปาตุรหุ[xxxviii], ปาตุรเหสุํ[xxxix], ปาตราโส, ปุนเรติ, ธีรตฺถุ[xl], จตุรงฺคิกํ ฌานํ[xli], จตุรารกฺขา, จตุราสีติสหสฺสานิ, จตุริทฺธิลาโภ, จตุโรฆา, วุทฺธิเรสา[xlii], ปถวีธาตุเรเวสา[xliii], อาโปธาตุเรเวสา[xliv], สพฺภิเรว สมาเสถ, นกฺขตฺตราชาริว ตารกานํ, วิชฺชุริว อพฺภกูเฏ, อารคฺเคริว, อุสโภริว[xlv],
ตัวอย่าง
ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
นิรนฺตรํ,
นิ + อนฺตรํ
ไม่มีช่องว่าง
นิรตฺถกํ,
นิ + อตฺถกํ
ไม่มีประโยชน์
นิราหาโร,
นิ + อาหาโร
อดอาหาร, ขาดอาหาร
นิราพาโธ,
นิ + อาพาโธ
ไม่มีโรค
นิราลโย,
นิ + อาลโย
ไม่มีอาลัยคือตัณหา
นิรินฺธโน อคฺคิ,
นิ + อินฺธโน อคฺคิ
ไฟหมดเชื้อ
นิรีหกํ,
นิ + อีหกํ
ไม่มีความพยายาม, ไม่ขวนขวาย
นิรุทกํ,
นิ + อุทกํ
ไม่มีน้ำ
นิรุตฺติ,
นิ + อุตฺติ
นิรุตติ การออกเสียง
นิรุตฺตโร,
นิ + อุตฺตโร
ไม่มีผู้เหนือกว่า
นิรูมิกา นที,
นิ + อูมิกา นที
แม่น้ำไม่มีคลื่น
นิโรชํ,
นิ + โอชํ
ไม่มีโอชะ, ไม่มีเดช, หมดฤทธิ์, อับแสง
ทุรติกฺกโม,
ทุ + อติกฺกโม
ก้าวพ้นได้ยาก
ทุรภิสมฺภโว,
ทุ + อภิสมฺภโว
การเกิดใหม่ได้ยาก
ทุราสทา พุทฺธา
ทุ + อาสทา พุทฺธา
พระพุทธเจ้า ผู้ใครๆเอาชนะได้ยาก
ทุราขฺยาโต ธมฺโม
ทุ + อาขฺยาโต ธมฺโม
พระธรรม อันบุคคลบอกได้ยาก
ทุราคตํ,
ทุ + อาคตํ
มาได้โดยยาก
ทุรุตฺตํ วจนํ
ทุ + อุตฺตํ วจนํ
คำที่กล่าวไว้ไม่ดี
ปาตุรโหสิ
ปาตุ + อโหสิ
ปรากฏแล้ว
ปาตุรหุ
ปาตุ + อหุ
ปรากฏแล้ว
ปาตุรเหสุํ
ปาตุ + อเหสุํ
ได้ปรากฏแล้ว
ปาตราโส
ปาตุ + อาโส
อาหาร (ในเวลา) เช้า
ปุนเรติ,
ปุน + เอติ
มาอีก
ธีรตฺถุ
ธี + อตฺถุ
น่าตำหนิ
จตุรงฺคิกํ ฌานํ
จตุ + องฺคิกํ ฌานํ
ญานประกอบด้วยองค์ ๔
จตุรารกฺขา,
จตุ + อารกฺขา
ธรรมควรรักษา ๔ ประการ
จตุราสีติสหสฺสานิ,
จตุ + อสีติสหสฺสานิ
แปดหมื่นสี่พัน
จตุริทฺธิลาโภ,
จตุ + อิทฺธิลาโภ
การได้ฤทธิ์ ๔
จตุโรฆา,
จตุ + โอฆา
โอฆะ ๔
วุทฺธิเรสา
วุทฺธิ + เอสา
ความเจริญนี้
ปถวีธาตุเรเวสา
ปถวีธาตุ + เอวส
ปฐวีธาตุนี้
อาโปธาตุเรเวสา
อาโปธาตุ + เอสา
อาโปธาตุนี้
สพฺภิเรว สมาเสถ,
สพฺภิ + เอว สมาเสถ
พึงเชยชิดกับสัตบุรุษท.เท่านั้น
นกฺขตฺตราชาริว ตารกานํ,
นกฺขตฺตราชา + อิว ตารกานํ
เหมือนดังดาวฤกษ์ของดาวทั้งหลาย
วิชฺชุริว อพฺภกูเฏ,
วิชฺชุ + อิว อพฺภกูเฏ
เหมือนดังสายฟ้าบนยอดเมฆ
อารคฺเคริว,
อารคฺเค + อิว
เหมือน (เมล็ดผัก) บนปลายหลาว
อุสโภริว,
อุสโภ + อิว
เหมือนโคผู้


ยถริว, ตถริว [xlvi] - ราคเม รสฺโสฯ 
ในตัวอย่างว่า ยถริว ฉันใดนั่นเทียว และ ตถริว ฉันนั้นนั่นเทียว มีการรัสสะ เพราะ ร อาคม. 

เอตฺถ จ ยถา ‘‘อติริว กลฺลรูปา[xlvii], อติวิย ลาภคฺคยสคฺคปตฺโต, ปรํวิย มตฺตาย’’ อิจฺจาทีสุ อิว, วิยสทฺทา เอวตฺเถ วตฺตนฺติ, ตถา ‘‘ยถริว, ตถริว, วรมฺหากํ ภุสามิว[xlviii], เนตํ อชฺชตนามิว’’ อิจฺจาทีสุ อิวสทฺโท เอวตฺเถ วตฺตติฯ
อนึ่ง อิวและวิยศัพท์ มีอรรถของเอวศัพท์ ในตัวอย่างเหล่านี้ คือ
อติริว กลฺลรูปา,
ดีใจยิ่งนักนั่นเทียว

อติวิย ลาภคฺคยสคฺคปปตฺโต,
ถึงความเลิศแห่งลาภและยศอันเลิศเหลือเกินนั่นเทียว

ปรํวิย มตฺตาย
โดยประมาณใหญ่ยิ่งนั่นเทียว

ถึงในตัวอย่างเหล่านี้ อิว ก็มีอรรถของเอวศัพท์เหมือนกัน คือ
ยถริว
ฉันใดนั่นเทียว

ตถริว
ฉันนั้นนั่นเทียว

วรมฺหากํ ภุสามิว
ข้าวลีบเท่านั้น เป็นอาหารอย่างสูงสุดของเรา. (ชา.๑/๑๐๘)หรือ (ขุ.ชา.สฺยา ๒๗/๔๕๙)

เนตํ อชฺชตนามิว
นินทาและสรรเสริญนั่น ย่อมมีในวันนี้เท่านั้นก็หามิได้. (ขุ.ธ.๒๕/๒๒๗)

***************
โว
ว เป็นพยัญชนอาคม

ทุวงฺคุลํ, ทุวงฺคิกํ, ติวงฺคุลํ, ติวงฺคิกํ, ปาคุญฺญวุชุตา, วุสิตํ, วุตฺตํ, วุจฺจเต, อาสนา วุฏฺฐาติ[xlix], วุฏฺฐานํ, วุฏฺฐหิตฺวา,

ตัวอย่าง

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ทุวงฺคุลํ,
ทุ + องฺคุลํ
สองนิ้ว
ทุวงฺคิกํ,
ทุ + องฺคิกํ
มีองค์สอง
ติวงฺคุลํ,
ติ + องฺคุลํ
สามนิ้ว
ติวงฺคิกํ,
ติ + องฺคิกํ
มีองค์สาม
ปาคุญฺญวุชุตา,
ปาคุญฺญ + อุชุตา
ความคล่องแคล่วและความซื่อตรง
วุสิตํ,
อุสิตํ (อุ + สี + ต)
อยู่แล้ว
วุตฺตํ,
อุตฺตํ (อุ กล่าว + ต)
กล่าวแล้ว
วุจฺจเต,
อุจฺจเต (อุจ + ย + ต)
อันเขาย่อมกล่าว
อาสนา วุฏฺฐาติ
อาสนา อุฏฺฐาติ
ลุกขึ้นจากอาสนะ
วุฏฺฐานํ,
อุฏฺฐานํ
การออก
วุฏฺฐหิตฺวา,
อุฏฺฐหิตฺวา
ออกแล้ว

ภิกฺขุวาสเน, ปุถุวาสเน, สยมฺภุวาสเน อิจฺจาทีนิ อุวณฺณนฺตรูปานิ วาคเมนาปิ สิชฺฌนฺติเยวฯ
อุทาหรณ์ในอุวัณณันตะ (อุ - อู การันต์) ย่อมสำเร็จแม้ด้วยการลงวอาคมเหมือนกัน เช่น

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ภิกฺขุวาสเน,
ภิกฺขุ + อาสเน
บนอาสนะของภิกษุ
ปุถุวาสเน,
ปุถุ + อาสเน
บนอาสนะใหญ่
สยมฺภุวาสเน
สยมฺภู + อาสเน
บนอาสนะของพระสยัมภู (พระพุทธเจ้า)

๕๑. ฉา โฬ
สเร ปเร ฉมฺหา ฬาคโม โหติฯ
๕๑. ฉา โฬ
เพราะมีสระหลัง ลง ฬ เป็นอักษรอาคม ท้าย ฉ
ในเพราะสระอันเป็นเบื้องหลัง ลง ฬ อาคมท้าย ฉ.

ฉฬงฺคํ, ฉฬายตนํ, ฉฬาสีติสหสฺสานิ[l], อตฺถสฺส ทฺวารา ปมุขา ฉเฬเต[li], ฉเฬวานุสยา โหนฺติ[lii], ฉฬภิญฺญา มหิทฺธิกา [liii]
ตัวอย่าง

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ฉฬงฺคํ,
ฉ + องฺคํ
มีองค์ ๖
ฉฬายตนํ,
ฉ + อายตนํ
อายตนะ ๖
ฉฬาสีติสหสฺสานิ,
ฉ + อสีติสหสฺสานิ
แปดหมื่นหกพัน
อตฺถสฺส ทฺวารา ปมุขา ฉเฬเต,
ฉ + เอเต
อุบายยอดเยี่ยม ๖ ประการเพื่อบรรลุประโยชน์
ฉเฬวานุสยา โหนฺติ,
ฉ + เอว
อนุสัยท. ๖ นั่นเทียว ย่อมมี
ฉฬภิญฺญา มหิทฺธิกา
ฉ + อภิญฺญา
เป็นผู้มีอภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก

มหาวุตฺติวิธานมุจฺจเตฯ
จะกล่าวถึงวิธีการสำเร็จรูปด้วยมหาสูตร

สเร ปเร มนาทีหิ สาคโม
ในเพราะสระหลัง ลง ส เป็นอาคมท้าย มนศัพท์เป็นต้น

มนสิกาโร, มานสิโก, เจตสิโก, อพฺยคฺคมนโส นโร[liv],ปุตฺโต ชาโต อเจตโส,อุเร ภโว โอรโส อิจฺจาทิฯ
ตัวอย่าง เช่น

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
มนสิกาโร
มน + + อิ (สฺมิํ วิภัตติ) + กาโร
กระทำไว้ในใจ
มานสิโก
มน + ณิก = มาน + + อิก
ธรรมอันมีในใจ
เจตสิโก
เจต + + ณิก = เจตสิก
ธรรมมีในจิต
อพฺยคฺคมนโส นโร
อพฺยคฺคมน + + โอ (สิวิภัตติ)
มีจิตปราศจากความลังเลสงสัย
ปุตฺโต ชาโต อเจตโส
อเจต + + โอ (สิวิภัตติ))
พระราชบุตรเป็นเหมือนกับคนไม่มีจิต
อุเร ภโว โอรโส
อุร + ณ + + โอ (สิวิภัตติ)
บุตรผู้มีในอุระ ชื่อว่า โอรส

สเร ปเร พหุลํ หาคโม
เพราะสระหลัง ห เป็นอาคมโดยส่วนมาก เช่น

มาเหวํ อานนฺท[lv], โนเหตํ ภนฺเต[lvi], โนหิทํ โภ โคตม[lvii], นเหวํ วตฺตพฺเพ[lviii], เหวํ วตฺตพฺเพ, เหวํ วทติ, อุชู จ สุหุชูจ[lix], สุหุฏฺฐิตํ สุขโณ อิจฺจาทิฯ

ตัวอย่าง

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
มาเหวํ อานนฺท
มา + ห + เอวํ
ดูก่อนอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้
โนเหตํ ภนฺเต
โน + เอตํ + ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เป็นอย่างนั้น
โนหิทํ โภ โคตม
โน + ห +อิทํ โภ โคตม
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่เป็นอย่างนี้
น เหวํ วตฺตพฺเพ
น + ห + เอวํ  วตฺตพฺเพ
ไม่พึงกล่าวอย่างนี้
เหวํ วตฺตพฺเพ
ห + เอวํ วตฺตพฺเพ
พึงกล่าวอย่างนี้
เหวํ วทติ
ห + เอวํ วทติ
ย่อมกล่าวอย่างนี้
อุชู จ สุหุชูจ
อุชู จ สุ + ห + อุชู จ
ตรงด้วย ตรงด้วยดี ด้วย
สุหุฏฺฐิตํ สุขโณ
สุ + ห + อุฏฺฐิตํ สุขโณ
การลุกขึ้นด้วยดี, ขณะที่ดี

อิติ พฺยญฺชนาคมราสิฯ
กลุ่มพยัญชนอาคม ดังข้าพเจ้าแสดงมาอย่างนี้


๕๒. นิคฺคหีตํ[lx]
๕๒. นิคฺคหีตํ
นิคคหิตเป็นอาคม ได้บ้าง.

นิคฺคหีตํ กฺวจิ อาคตํ โหติ วาฯ
ในบางแห่ง นิคคหิต เป็นอักษรเพิ่มมาได้ บ้าง.

อุปวสฺสํ โข ปน[lxi], นวํ ปน ภิกฺขุนา จีวรลาเภน[lxii],อปฺปมาโท อมตํ ปทํ[lxiii],จกฺขุํ อุทปาทิ[lxiv],อณุํถูลานิ[lxv], กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุํ[lxvi], อวํสิรา ปตนฺติ[lxvii]
ตัวอย่างเช่น

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
อุปวสฺสํ โข ปน[lxviii]
อุปวสฺส (อุปวสฺสิตฺวา) + โข ปน
เข้าจำพรรษาแล้ว
นวํ ปน ภิกฺขุนา จีวรลาเภน[lxix]
นว+จีวรลาเภน
ภิกษุผู้ได้จีวรใหม่
อปฺปมาโท อมตํปทํ[lxx]
อปฺปมาโท อมต+ปทํ
ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย
จกฺขุํ อุทปาทิ[lxxi]
จกฺขุ อุทปาทิ
จักษุ เกิดขึ้นเกิดขึ้นแล้ว
อณุํถูลานิ[lxxii]
อณุถูลานิ
เล็กและใหญ่
กตฺตพฺพํ กุสลํพหุํ[lxxiii]
กตฺตพฺพํ กุสลพหุํ
กุศลมากอันสัตว์ท.ควรทำ
อวํสิรา ปตนฺติ[lxxiv]
อวสิรา ปตนฺติ
มีหัวห้อยลง หล่นไป

ยทตฺโถ, ตทตฺโถ, เอตทตฺโถ, ตกฺกตฺตา, ตกฺกโร อิจฺจาทีนิ ปุพฺเพ วุตฺตาเนว,
ตัวอย่างต่อไปนี้ เคยกล่าวมาแล้ว เช่น

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ยทตฺโถ, ยํ + อตฺโถ
ย + อตฺโถ
เนื้อความใด
ตทตฺโถ, ตํ + อตฺโถ
ต + อตฺโถ
เนื้อความนั้น
เอตทตฺโถ,เอตํ + อตฺโถ
เอต + อตฺโถ
ประโยชน์นี้
ตกฺกตฺตา,ตํ + กตฺตา
ต + กตฺตา
ผู้ทำกิจนั้น
ตกฺกโร, ตํ + กโร
ต + กโร
ผู้ทำกิจนั้น

ตถา ตํสมฺปยุตฺโต, ตพฺโพหาโร, ตพฺพหุโล อิจฺจาทิฯ
ตัวอย่างเหล่านี้ ก็เคยกล่าวมาแล้วหมือนกัน เช่น


ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ตํสมฺปยุตฺโต
ต + สมฺปยุตฺโต
ประกอบด้วยธรรมนั้น
ตพฺโพหาโร, ตํ+โวหาดร
ต + โวหาโร
เป็นชื่อของสิ่งนั้น
ตพฺพหุโล, ตํ + พหุโล
ต + พหุพโล
มากด้วยสิ่งนัั้น


อิติ พินฺทาคมราสิฯ
กลุ่มศัพท์ที่ลงนิคคหิตอาคม จบ

มหาวุตฺตินา ปทานํ อนฺเต คต, ชาต, อนฺต สทฺทา อาคมา โหนฺติฯ
ศัพทเหล่านี้คือ คต ชาต อนฺต เป็นอาคม ย่อมมีในที่สุดแห่งบทท. ด้วยมหาสูตร.

รูปคตํ เวทนาคตํ[lxxv], สญฺญาคตํ[lxxvi], คูถคตํ[lxxvii], มุตฺตคตํ[lxxviii], ทิฏฺฐิคตํ[lxxix], อตฺถชาตํ[lxxx], ธมฺมชาตํ, สุตฺตนฺโต[lxxxi],วนนฺโต, สมฺมากมฺมนฺโต, มิจฺฉากมฺมนฺโต อิจฺจาทิฯ
ตัวอย่าง
รูปคตํ  รูป
เวทนาคตํ  เวทนา
สญฺญาคตํ สัญญา
คูถคตํ อุจฺจาระ
มุตฺตํคตํ ปัสสาวะ
ทิฏฺฐิคตํ ความเห็นผิด
อตฺถชาตํ อรรถ
ธมฺมชาตํ ธรรม
สุตฺตนฺโต พระสูตร
วนนฺโต ป่า
สมมากมฺมนฺโต สัมมากัมมันตะ การงานชอบ
มิจฺฉากมฺมนฺโต มิจฉากัมมันตะ การงานผิด

อาคมสนฺธิราสิ นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มวิธีการเชื่อมบทโดยการลงอักษรอาคม จบ.





[i] [สํ. นิ. ๑.๔๙]
[ii] [ปริ. ๓๘๖]
[iii] [ปารา. ๓๙],
[iv] [ธ. ป. ๔๒] ตามที่อ้างนี้ ไม่น่าถูกต้อง เพราะในบาฬีนั้น เป็น ทิโส ทิสํ แปลว่า โจร (เห็น) โจร ซึ่งไม่เป็นบทสมาสตรงตามจุดประสงค์ในวิธีนี้ ในที่นี้ ทิโสทิสํ หมายถึง ทั่วทุกทิศ ควรอ้างบาฬีใน ที.ปา. ๓/๑๖๒, ขุ.เป. ๑๖๗ เป็นต้น
[v] [ที. นิ. ๓.๑]
[vi] [มหานิทฺเทเส]
[vii] [ปารา. ๕๕]
[viii] [ที. นิ. ๑.๒๕๐]
[ix] [ม. นิ. ๑.๒๙]
[x] [ชา. ๒.๑๘.๑๐]
[xi] [ปฏิสมฺภิทามคฺเค; วิสุทฺธิมคฺเค]
[xii] [สุ. นิ. ๕๓๑]
[xiii] [สุ. นิ. ๑๑๓๑]
[xiv] [สํ. นิ. ๕.๑๙๕]
[xv] [ม. นิ. ๒.๒๓๔]
[xvi] [อ. นิ. ๓.๑๐๑]
[xvii] [ที. นิ. ๑.๑๕๙]
[xviii] [ธ. ป. ๓๖๙]
[xix] [วิภ. อฏฺฐ. ๑๘๙]
[xx] [อ. นิ. ๔.๓๔]
[xxi] [ชา. ๑.๗.๓๐]
[xxii] [ที. นิ. ๒.๓๔๘]
[xxiii] [เป. ว. ๑๘๑]
[xxiv] [ธ. ส. อฏฺฐ. ๕๙๖]
[xxv] [ม. นิ. ๓.๔๐]
[xxvi] [ปารา. อฏฺฐ. ๑.๒๓]
[xxvii] [สํ. นิ. ๔.๒๕๐]
[xxviii] [ชา. ๑.๓.๒๕]
[xxix]  [อ. นิ. ๑.๒๑-๒๒],
[xxx] [อ. นิ. ๖.๑๑]
[xxxi] [อ. นิ. ๙.๙]
[xxxii] [อ. นิ. ๑๐.๑๖]
[xxxiii] [จริยา. ๑.๖๕]
[xxxiv] [อป. เถร ๑.๔๐.๒๗๐]
[xxxv] [ที. นิ. ๓.๑๖๖]
[xxxvi] [อ. นิ. ๕.๑๔๐]
[xxxvii] [มหาว. ๘]
[xxxviii] [ชา. ๑.๑๔.๒๐๒]
[xxxix] [อ. นิ. ๓.๗๑]
[xl] [ชา. ๑.๑.๑๓]
[xli] [ธ. ส. ๑๖๘]
[xlii] [ที. นิ. ๑.๒๕๑]
[xliii] [ม. นิ. ๓.๓๔๘-๓๔๙]
[xliv] [ม. นิ. ๓.๓๕๐]
[xlv] [สุ. นิ. ๒๙]
[xlvi] [ที. นิ. ๑.๒๖๓]
[xlvii] [สุ. นิ. ๖๘๘]
[xlviii] [ชา. ๑.๓.๑๐๘]
[xlix] [ปาจิ. ๕๔๗]
[l] [เป. ว. ๓๗๔]
[li] [ชา. ๑.๑.๘๔]
[lii] [อภิธมฺมตฺถสงฺคห]
[liii] [พุ. วํ. ๓.๕]
[liv] [อ. นิ. ๑.๓๐]
[lv] [ที. นิ. ๒.๙๕]
[lvi] [ที. นิ. ๑.๑๘๕-๑๘๖]
[lvii] [ที. นิ. ๑.๒๖๓]
[lviii] [กถา. ๑]
[lix] [ขุ. ปา. ๙.๑]
[lx] [ก. ๓๕; รู. ๒๑ (ปิฏฺเฐ); นี. ๕๖]
[lxi] [ปารา. ๖๕๓]
[lxii] [ปาจิ. ๓๖๘]
[lxiii] [ธ. ป. ๒๑]
[lxiv] [มหาว. ๑๕]
[lxv] [ธ. ป. ๒๖๕]
[lxvi] [ธ. ป. ๕๓]
[lxvii] [ชา. ๑.๑๑.๓๕]
[lxviii] [ปารา. ๖๕๓]
[lxix] [ปาจิ. ๓๖๘]
[lxx] [ธ. ป. ๒๑]
[lxxi] [มหาว. ๑๕]
[lxxii] [ธ. ป. ๒๖๕]
[lxxiii] [ธ. ป. ๕๓]
[lxxiv] [ชา. ๑.๑๑.๓๕]
[lxxv] [ม. นิ. ๒.๑๓๓]
[lxxvi] [ม. นิ. ๒.๑๓๓]
[lxxvii] [ม. นิ. ๒.๑๑๙]
[lxxviii] [ม. นิ. ๒.๑๑๙]
[lxxix] [มหาว. ๖๖]
[lxxx] [ปารา. อฏฺฐ. ๑.ปฐมมหาสงฺคีติกถา],
[lxxxi]  [กถา. ๒๒๖],



[i] [ชา. ๒.๒๒.๑๙๑๓]
[ii] [ชา. ๑.๑.๑๔๘]
[iii] [ชา. ๑.๑.๑๔๘]
[iv] [ชา. ๑.๒.๓๑]