28/2/58

บทความเรื่อง การใช้วิภัตติบาลี : ๓

ประเภทของการก
เมื่อกล่าวถึงสภาพของการก ก็คือ สัตติ ความสามารถในการทำกิริยาให้สำเร็จ มีอยู่ ๖ ประการคือ 1

กัตตุการก การกคือผู้ทำ ประกอบด้วยกิริยานิปผาทนสัตติ คือ ความสามารถในการทำกิริยาให้สำเร็จ เช่น ปุริโส มคฺคํ คจฺฉติ (บุรุษ ไป สู่หนทาง)

กรรมการก การกคือผู้ถูกทำ ประกอบด้วยกิริยาสัมพัชฌนสัตติ คือ ความสามารถในการเนื่องด้วยกิริยา เช่น ปุริโส โอทนํ ปจติ (บุรุษหุงข้าวในขณะหุงข้าวอยู่ ข้าวเป็นสิ่งทีเนื่องด้วยกิริยาการหุงอยู่เสมอ ส่วนบุรุษแม้จะเป็นผู้ทำกิริยาการหุง แต่อาจจะไม่เกี่ยวเนื่องกับการหุงตลอดเวลา เพราะเมื่อก่อไฟแล้ว อาจจะไปนอนหลับก็ได้ ข้าว ในคำว่า โอทนํ จึงประกอบด้วยกิริยาสัมพัชฌนสัตติอนึ่ง ในตำราอื่นเรียกว่า กิริยาปาปุณนสัตติ ความสามารถในการถูกกิริยาถึง

กรณการก การกะคือเครื่องกระทำ ประกอบด้วยกิริยาสาธกตมสัตติ คือ ความสามารถในการทำกิริยาให้สำเร็จมากกว่ากรรมการกเป็นต้น เช่น ทาตฺเตน วีหึ ลุนาติ (เกี่ยวข้าวด้วยเคียวเคียวในคำว่า ทาตฺเตน เป็นเครื่องมือในการทำกิริยาเกี่ยวข้าว ถ้าไม่มีเคียวแล้ว การเกี่ยวข้าวย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้ ส่วนใหญ่กรรมการกะเป็นต้น มักปรากฏว่า มีอยู่ ก่อนกว่ากรณการกะ เช่น มีข้าวที่จะต้องเกี่ยว แต่กรณการกะเป็นสิ่งที่ผู้กระทำกิริยาจำเป็นต้องแสวงหาเมื่อทำกิริยานั้นๆ ดังนั้น กรณการก จึงปรากฏว่าเป็นเครื่องมือในการทำกิริยาให้สำเร็จมากกว่ากรรมการกะเป็นต้น โดยยกเว้นกัตตุการก.

สัมปทานการก การกคือที่ให้ (ผู้รับประกอบด้วยวัตถุกิริยาปฏิคคาหกสัตติ คือ ความสามารถในการรับสิ่งของหรือกิริยา เช่น ภิกฺขุสฺส จีวรํ ททาติ (ถวายจีวร แด่ภิกษุ), พุทฺธสฺส สิลาฆเต (ย่อมสรรเสริญพระพุทธเจ้าภิกษุในคำว่าภิกฺขุ ในคำว่า ภิกฺขุสฺส เป็นผู้รับของคือจีวร ส่วนพระพุทธเจ้าในคำว่า พุทฺธสฺส เป็นผู้รับกิริยาสรรเสริญ จึงประกอบด้วยวัตถุกิริยาปฏิคคาหกสัตติ

อปาทานการก การกคือแดนหลีกออก ประกอบด้วยกิริยาอปคมนสัตติ คือ ความสามารถในการหลีกออกจากกิริยา เช่น คามา อเปนฺติ มุนโย (มุนีทั้งหลาย ย่อมหลีกออกจากหมู่บ้านหมู่บ้านในคำว่า คามา เป็นแดนหลีกออกจากกิริยาของบทกัตตาคือมุนี จึงประกอบด้วยกิริยาอปคมนสัตติ.

โอกาสการก การกคือที่ตั้ง ประกอบด้วยกิริยาปติฏฐาปนสัตติ คือ ความสามารถในการดำรงกิริยาไว้ เช่น ภูมีสุ มนุสฺสา จรนฺติ (มนุษย์เที่ยวไปบนพื้นดินพื้นดินในคำว่า ภูมีสุ เป็นที่ของกิริยาเที่ยวไป จึงประกอบด้วยกิริยาปติฏฐาปนสัตติ.

--------------------------------------------------------------------

1ปทรูปสิทธิมัญชรี เล่ม ๑ บทนำเรื่อง การกกัณฑ์
2รู.ฎีการก หน้า ๒๘๓ฉบับจัดพิมพ์โดยคณะไตรสิกขา พ.๒๕๕๑

26/2/58

การใช้ปฐมาวิภัตติ (๒)

การกะ
คัมภีร์ปทรูปสิทธิ กล่าวถึงการกในความหมายว่าเป็นอรรถของวิภัตติทั้ง ๗ ว่า “วิภตฺตีนมตฺถเภทา ความหมายของวิภัตติต่างๆ[1]
หนังสือบาลีไวยากรณ์ นำการกมากล่าวไว้ในส่วนหนึ่งของวากยสัมพันธ์ โดยอรรถาธิบายรวมกับอรรถของวิภัตติต่างๆ เช่นกัน ว่าเป็นบทนามนามที่ประกอบด้วยวิภัตติแล้วมีอรรถแตกต่างกัน เป็นต้นว่า บทนามนามที่ประกอบด้วยทุติยาวิภัตติใช้ในอรรถ ๖ อย่าง เข้ากับกิริยา.และในบทนำของวากยสัมพันธ์ว่า
         คัมภีร์สัททนีติให้คำนิยามของ การก ไว้ว่า
กิริยานิมิตฺตํ การกํ
         การกคือเหตุแห่งการทำกิริยาให้สำเร็จ.
         ยํ สาธนสภาวตฺตา มุขฺยวเสน วา อุปจารวเสน วา กฺริยาภินิปฺผตฺติยา นิมิตฺตํ, ตํ วตฺถุ การกํ นาม ภวติ. มุโขฺยปจารวเสน หิ กฺริยํ กโรตีติ การกํ
         สิ่งที่เป็นเหตุทำกิริยาให้สำเร็จ ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม ชื่อว่า การกะ เพราะมีศักยภาพทำกิริยาให้สำเร็จได้ ดังมีรูปวิเคราะห์ว่า มุโขยฺปจารวเสน กฺริยํ          กโรตีติ การกํ [2]
         อธิบายได้ว่า
คำว่า นิมิต ในสูตรนี้ หมายความว่า เป็นมูลหรือเป็นเหตุแห่งกิริยา ซึ่งมีลักษณะสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับกิริยา (กิริยาสมฺพนธนลกฺขณํ การกํ) กล่าวอีกนัยหนึ่ง การกเป็นลักษณะของคำนามที่ประกอบด้ววิภัตติต่างๆ แล้วมีความสัมพันธ์กับกิริยา เข่น เป็นผู้กระทำกิริยา เรียกว่า กัตตุการก เป็นกรรมของกิริยา เรียกว่า กัมมการก เป็นเครื่องมือของกิริยา เรียกว่า กรณการก โดยสรุป การก คือ ลักษณะของคำนามที่เกี่ยวข้องกับกิริยาโดยมีวิภัตติเป็นตัวบอกให้ทราบว่าเป็นการกใด. [3]



[1] ปทรูปสิทธิ การกกณฺฑ น. ๑๖๗ ฉบับชมรมนิรุตติศึกษา (แม้ข้างหน้าจนจบก็อ้างฉบับนี้)
[2] สัททนีติ สุตตมาลา การกกัณฑ์  สูตรที่ ๕๔๗ แปล หน้า ๓๘๕
[3] หนังสือ “ไวยากรณ์บาลี” หน้า ๒๘๑ ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง. 

การใช้วิภัตติ - ปฐมาวิภัตติ ๑

ความหมายของคำว่า วิภัตติ
คัมภีร์ปทรูปสิทธิ[1]ให้คำนิยามของวิภัตติเหล่านั้นว่า
         เอกมฺปิ อตฺถํ กมฺมาทิวเสน เอกตฺตาทิวเสน จ วิภชนฺตีติ วิภตฺติโย,                 สฺยาทโย.
         “ศัพท์เหล่าใด ย่อมจำแนกเนื้อความแม้อย่างเดียวออกเป็นบทที่มีกรรมการกเป็นต้น และออกเป็นเอกพจน์เป็นต้น เหตุนั้น ศัพท์เหล่านั้น ชื่อว่า วิภัตติ หมายถึง วิภัตตินามมี สิ วิภัตติเป็นต้น”.
         คัมภีร์นิรุตติทีปนี ให้นิยามว่า
วิภชนฺตีติ วิภตฺติโย, เอกเมกํ ปกตินามปทํ นานารูปวิภาควเสน  กตฺตุ, กมฺมาทินานาอตฺถวิภาควเสน เอกตฺต, พหุตฺตสงฺขฺยาวิภาควเสน จ วิภชนฺตีติ อตฺโถฯ สิ, โย อิติ ปฐมา นามเป.สฺมิํ, สุ อิติ สตฺตมี นามฯ[2]
วิภัตติคือ ศัพท์ที่จำแนกนามปทอันเป็นปกติ (รูปเดิม) แต่ละบทโดยกระจายรูปเป็นอย่างต่างๆ, โดยความหมายต่างๆมีกัตตุและกรรมเป็นต้นและโดยพจน์ ออกเป็นอย่างเดียวและหลายอย่างเป็นต้น. วิภัตติเหล่านั้น คือ ส และโย มีชื่อว่า ปฐมาวิภัตติ, ฯลฯ สฺมึ และสุ มีชื่อว่า สัตตมีวิภัตติ
        
สรุปได้ว่า วิภัตติ มีหน้าที่จำแนกให้เห็น ๓  ประการ คือ
         ๑. จำแนกปกติศัพท์ (คือรูปศัพท์เดิม ก่อนจะลงวิภัตติ) ออกเป็นรูปต่างๆ       (ปทมาลา) เช่น    ปุริส ถูกวิภัตติมีสิเป็นต้นจำแนกออกเป็น ปุริโส ปุริสํ เป็นต้น
         ๒. จำแนกปกติศัพท์ออกตามความหมาย (อรรถ). กรณีนี้ วิภัตติสามารถจำแนกศัพท์ที่หมายถึงสิ่งเดียว และที่หมายถึงสิ่งหลายอย่าง เช่น ปุริส คนเดียว ปุริส บุรุษหลายคน ให้เห็นว่า มีความหมายอะไรบ้างตามวิภัตตินั้นๆ โดยความเป็นกัตตาบ้าง เป็นกรรมบ้าง เป็นต้น เช่น  ปุริโส ปุริสา ปุริสํ ปุริเส เป็นต้น
๓.. จำแนกปกติศัพท์ออกตามจำนวน (วจนะ) กรณีนี้ จำแนกศัพท์ที่มีจำนวนหนึ่งเดียว ให้เห็นจำนวนหนึ่งบ้าง มากกว่าหนึ่งบ้าง เช่น ปุริโส ปุริสา, ปุริสํ, ปุริเส ดังนี้เป็นต้น.

อรรถของวิภัตติ
         อรรถของวิภัตติ ได้แก่ พจน์มีเอกพจน์เป็นต้นและความหมายต่างๆ มีกรรมเป็นต้นที่วิภัตติทั้ง ๗ ได้จำแนกออกมาให้เห็น.  คัมภีร์ไวยากรณ์ต่างๆ ได้แสดงจำแนกอรรถของวิภัตติทั้งหมดออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ อรรถที่เป็นการก และ อการก ด้วยเหตุนี้ ในที่นี้จะแสดงอรรถของวิภัตติไปตามลำดับวิภัตติทั้ง ๗ ตามควรแก่เนื้อความ โดยไม่จำแนก.
เกี่ยวกับอรรถของวิภัตตินี้ มีความเห็นเป็น ๒ มติ คือ วิภัตติมีอรรถและไม่มีอรรถเป็นเพียงเครื่องส่องอรรถของศัพท์เท่านั้น
ก.    มติที่ว่า มีอรรถของวิภัตติโดยแยกออกจากอรรถของศัพท์ดังนี้
อรรถของศัพท์ ได้แก่ ความหมายของศัพท์เดิม มี ๓ ได้แก่
๑.    ทัพพะ สิ่งที่คำนั้นสื่อถึง
๒.    ลิงค เพศทางไวยากรณ์ของศัพท์
๓.    สกัตถะ ความหมายของศัพท์  
ส่วนอรรถของวิภัตติ ได้แก่
๑.    การก หน้าที่ทางไวยากรณ์มีการกเป็นต้น[3]
๒.    สังขยา พจน์ (จำนวนนับ)[4]
คัมภีร์ปทวิจารทีปนี กล่าวถึงมติของอาจารย์บางท่าน[5]ที่แบ่งอรรถของศัพท์เป็น ๓ คือ ทัพพะ ลิงคะ และสกัตถะส่วนอรรถของวิภัตติ ได้แก่ การก และ พจน์[6]
ข.     มติที่ว่าอรรถของวิภัตติไม่มี เพราะเป็นเพียงส่องอรรถของศัพท์เท่านั้น
อรรถของศัพท์ได้แก่
๑.    ทัพพะ สิ่งที่คำนั้นสื่อถึง
๒.    ลิงค เพศทางไวยากรณ์ของศัพท์
๓.    สกัตถะ ความหมายของศัพท์  
๔.    สังขยา พจน์ (จำนวนนับ)
๕.    การก หน้าที่ทางไวยากรณ์มีการกเป็นต้น
ตัวอย่าง ปุริสํ ปสฺสติ “ย่อมเห็นซึ่งบุรุษ” ในตัวอย่างนี้ บทว่า ปุริสํ มาจาก              ปุริส+ อํ. ปุริส เป็นศัพท์ปกติ ส่วนอํวิภัตติ ทำหน้าที่ส่องเนื้อความเอกัตตสังขยาและกรรมการกที่มีอยู่แล้วในศัพท์ปกติคือบุรุษ ที่ไม่ปรากฏให้ปรากฏขึ้น. ฉะนั้นบทว่า             ปุริสํ จึงมีอรรถ ๕ อย่าง คือ
๑.    สกัตถะ ได้แก่ สามัญญชาติ คือ คือ ลักษณะที่เหมือนกันของบุรุษทั้งหลาย
๒.    ทัพพะ ได้แก่ รูปธรรมคือตัวบุรุษอันประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ
๓.    ลิงค์ ได้แก่ วิสาทาการอันเป็นปุงลิงค์
๔.    สังขยา ได้แก่ จำนวนเอกพจน์
๕.    กรรมการก ได้แก่ กิริยาปาปุณนสัตติที่กิริยาการเห็นเข้าถึง.[7]
ปทรูปสิทธิฎีกาอธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า
เอกทฺวิตฺตาทิสงฺขฺยา เอกาทิสงฺขฺยาสทฺทานเมวตฺโถติ กิตาทีหิ  อภิหิต-                กมฺมาทิกญฺจ กิตนฺตาทิสทฺทานเมวตฺโถติ ทพฺพลิงฺคปริมาณตฺติกญฺจ                         สงฺขฺยากมฺมาทิทฺวิกญฺจาติ อยํ ปญฺจวิโธปิ อตฺโถ ปกติสทฺทตฺโถ เอว. วิภตฺติ ปน โชตกา “ลิงฺคตฺเถ ปฐมา”ติ วจนโต. ภวติ จ ชาติคุณาทิปฺปวตฺตินิมิตฺตมาทาย อตฺเถสุ, สงฺขฺยาทิกญฺจ สทฺโท วทติ ยทิจฺฉาวเสนาปิ.
จำนวนนับมีหนึ่งและสองเป็นต้น ชื่อว่า เป็นความหมายของคำว่า เอก และ ทฺวิ เป็นต้น สาธนะมีกรรมเป็นต้น อันกิตปัจจัยเป็นต้น กล่าวถึง ชื่อว่า เป็นความหมายของกิตันตบทเป็นต้นนั่นเทียว เพราะเหตุนั้น แม้อรรถ ๕ ประการเหล่านี้ คือ อรรถ ๓ คือ ทัพพะลิงค์ และสกัตถะ และ อรรถอีก ๒ คือ พจน์และการกมีกรรมเป็นต้น ชื่อว่า อรรถของศัพท์เดิมเท่านั้น. ส่วนวิภัตติเป็นเพียงศัพท์ที่เปิดเผยอรรถเหล่านั้นให้ปรากฏ ตามสูตรว่า “ลิงฺคตฺเถ ปฐมา เมื่ออรรถของนามศัพท์ถูกรู้อยู่ หรือ จะพึงถูกกล่าว ลงปฐมาวิภัตติ”. อนึ่ง ครั้นถือเอาปวัตตินิมิตตมีชาติและคุณเป็นต้น ศัพท์จึงมีในอรรถทั้งหลายได้, และกล่าวอรรถมีพจน์เป็นต้น แม้ตามความประสงค์ของผู้กล่าว.

จะเห็นว่า แท้ที่จริง วิภัตติ เป็นศัพท์เพียงส่องความหมายให้ปรากฏเท่านั้น. ความข้อนี้สมดังที่มาในคัมภีร์ปทรูปสิทธิสูตรที่ ๑๗๖ (อิตฺถิยมโต อาปจฺจโย) ว่า
ปกตฺยตฺถโชตกา อิตฺถิ-        ปฺปจฺจยา สฺยาทโย วิย;
ณาทโย ปจฺจยตฺถสฺส,          สกตฺถสฺสาปิ วาจกาฯ
 อิตถิปัจจัยคือ อา อี อินี)  เป็นปัจจัยส่องอรรถ (โชตก) ของปกติ (คือลิงค์)  เหมือนวิภัตติมีสิเป็นต้น, ณปัจจัยเป็นต้น เป็นปัจจัยตัวกล่าว (วาจก) ซึ่งอรรถของปัจจัยและอรรถของตนด้วย.[8]
และที่มาในคัมภีร์สัททัตถเภทจินตา ว่า
วิชฺชมาโนปิ  สุกฺกาทิ          ยถา  ทีปาทิเก  สติ  
         พฺยตฺติมายาติ  กมฺมาทิ       อตฺโถ  เอวํ  วิภตฺติยํ.
เมื่อประทีปเป็นต้นมีอยู่ สีขาวเป็นต้นที่มีอยู่ ย่อมถึงซึ่งความปรากฏได้ ฉันใด, เมื่อวิภัตติมีอยู่ อรรถกรรมเป็นต้น ก็ย่อมปรากฏได้ฉันนั้น.[9]
หมายความว่า เนื้อความ ๕ เหล่านั้น ย่อมตั้งอยู่ในศัพท์ต่างๆเช่น ปุริส บุรุษ เมื่อประกอบวิภัตติแล้ว บรรดาอรรถของศัพท์ ๕ เหล่านั้น อรรถ ๒ อย่างคือ สังขยาและการก จึงถูกเปิดเผยออกมา ก็ต่อเมื่อมีวิภัตติเป็นเครื่องส่องเท่านั้น เหมือนกับวัตถุสิ่งของที่อยู่ในห้องมืดๆ เมื่อเปิดไฟส่อง สิ่งของนั้นจึงเปิดเผยแก่สายตา โดยที่สิ่งของนั้นมีอยู่แล้ว มิใช่อยู่ในแสงไฟแต่ประการใด แม้สังขยาและการกต่างๆ เปรียบเหมือนกับวัตถุต่างๆ ย่อมตั้งอยู่ในอรรถเหล่านั้นอันเปรียบได้กับห้อง วิภัตติเปรีบบเหมือนกับแสงไฟที่ส่องเข้าไป เพื่อแสดงให้อรรถเหล่านั้นที่มีอยู่แล้ว ปรากฏแก่ความรู้ ฉะนั้น
อย่างไรก็ตามมติอย่างหลังนี้เป็นที่ยอมรับกันโดยสากลทั่วไป ดังคาถาที่มาในรูปสิทธิปกรณ์มีว่า ปกตฺยตฺถโชตกา เป็นต้น ดังได้แสดงมาแล้วนั้น. [10]
สรุปความได้ว่า อรรถต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการกหรืออการกนั้น มีมติอยู่สองคือ เป็นอรรถที่ตั้งอยู่ในตัวศัพท์ ส่วนวิภัตติเป็นเพียงศัพท์ที่เปิดเผย เรียกว่า โชตกะ ส่วนอีกมติหนึ่ง วิภัตติเป็นวาจกะ ศัพท์ที่กล่าวเนื้อความ.  อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นอรรถของวิภัตติหรืออรรถของศัพท์ก็ตาม สองมตินี้จะขัดแย้งกันหรือไม่ ก็ไม่ควรคำนึง แต่ควรคำนึงว่า อรรถต่างๆเหล่านั้น มีอย่างไร เพราะเป็นสาระที่ควรรู้แต่เพียงอย่างเดียว. ในที่นี้จะแสดงอรรถต่างที่สมควรต่อวิภัตติทั้ง ๗ ไปตามลำดับโดยนัยที่มาในคัมภีร์ปทรูปสิทธิ เพื่อเป็นพื้นฐานแห่งการศึกษาคัมภีร์ปทรูปสิทธินั้นและอื่นๆไปโดยสมควร.



[1] ปทรูปสิทฺธิ การกกณฺฑ น. ๑๖๗ ฉบับชมรมนิรุตติศึกษา (แม้ข้างหน้าจนจบก็อ้างฉบับนี้)
[2] นิรุตติทีปนี สูตรที่ ๖๑ ว่า ทฺเว ทฺเวกาเนเกสุ นามสฺมา สิ โย อํโย นา หิ ส นํ สฺมาหิ สนํสฺมิํสุ
[3] มตินี้ดูเหมือนจะถูกใช้ในคัมภีร์ปทรูปสิทธินี้ แต่เมื่อพิจารณาดูคาถาที่ท่านแสดงไว้ในสูตรที่ ๑๗๖ แสดงว่า ท่านมิได้เห็นว่า วิภัตติเป็นศัพท์มีอรรถคือการกเป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ คำว่า อรรถของวิภัตติ ท่านกล่าวไว้โดยการณูปจาระ คือ กล่าวเหตุอันได้แก่วิภัตติ แต่เจตนาหมายถึง ผล คือ อรรถของศัพท์ที่เป็นการก ที่ถูกสื่อออกมาโดยวิภัตติ (สมภพ).
[4] ตามที่คัมภีร์ปทรูปสิทธิฎีกาอ้างถึงมตินี้ว่า
เอตฺถ จ วิภตฺติเภเท วจนเภเท จ สมุปลพฺภมานํ ปุริสกญฺญาจิตฺตาทิสงฺขาตํ                     ทพฺพลิงฺคาทิตฺติกํ สทฺทตฺโถ. ยํ ปน วิภตฺติวจนเภเท สงฺขฺยากมฺมาทิทฺวิกํ น อเนฺวติ น วิภชติ, โส วิภตฺตฺยตฺโถติ เกจิ. โหติ จ
ปวตฺยเนฺวติ รุกฺขาทิ                 วิภตฺติวจนนฺตเร
สทฺทตฺโถ โส วิภตฺยตฺโถ           สงฺขฺยากมฺมาทิเภทิยํ.
เกี่ยวกับเรื่องอรรถของวิภัตตินี้ อาจารย์บางท่านมีความเห็นว่า อรรถของศัพท์ได้แก่ อรรถ ๓ อย่างคือทัพพะ ลิงค์ และสกัตถะ กล่าวคือ ปุริส กญฺญา จิตฺต เป็นต้นซึ่งจะพบได้ ก็ต่อเมื่อมีความต่างกันวิภัตติและวจนะ. แต่เนื้อความสองอย่างคือพจน์และการกมีกรรมเป็นต้นใดที่ไม่ถูกวิภัตติติดตาม คือ ไม่ถูกจำแนก ในเพราะความต่างกันแห่งวิภัตติและวจนะ เนื้อความสองอย่างนั้น ชื่อว่า อรรถของวิภัตติ.  มีคาถาสังคหะว่า
สัททัตถะ (เนื้อความของศัพท์) คือ ความเป็นไปแห่งเนื้อความมี รุกฺข เป็นต้น พึงเห็นภายในวจนะและวิภัตติ, อรรถของวิภัตติ ย่อมมี เพราะศัพท์ที่มีความต่างกันด้วยพจน์และการกเป็นต้น
[5] ได้แก่ คัมภีร์วาจจวาจก คาถาที่ ๑๑-๑๒ ที่ระบุว่า เนื้อความ ๓ คือ ทัพพะ ลิงคะและสกัตถะ ถูกศัพท์กล่าว ส่วนเนื้อความ ๒ คือ พจน์และการก ถูกวิภัตติกล่าว.
[6] ปทวิจารทีปนี หน้า ๗๔๑ มีคำอธิบายเช่นเดียวกับปทรูปสิทธิฎีกา.
[7] ปทวิจารทีปนี หน้า ๗๔๐
[8] คาถานี้มีอธิบายว่า อิตถีปัจจัย คือ อา อี อินี นี้เป็นเพียงปัจจัยที่ส่องอรรถของลิงค์ ให้รู้ว่า “นี้เป็นอิตถีลิงค์” เท่านั้น มีชื่อเรียกว่า โชตกปัจจัย มิใช่วาจกปัจจัย เหมือนกับวิภัตตินามที่เป็นเครื่องแสดงอรรถกรรมเป็นต้นที่มีอยู่แล้ว มิใช่แสดงอรรถใหม่ หรือแสดงอรรถพิเศษอะไรได้ความจริงศัพท์เดิมว่า กญฺญ แม้ไม่ลง อา ปัจจัยก็มีลักษณะของอิตถีลิงค์คือบัญญัติอันมีลักษณะไม่สะอาด แต่ลักษณะดังกล่าวไม่ประจักษ์แก่ผู้พูดและผู้ฟัง จึงต้องลง อา ปัจจัยเพื่อแสดงให้ประจักษ์.
          ส่วนตัทธิตปัจจัยมี ณ ณิกเป็นต้น สามารถกล่าวอรรถพิเศษต่างหากได้ เช่น ใน วสิฏฺฐสฺส อปจฺจํ เมื่อลง ณปัจจัย ลบอปจฺจ แล้ว สำเร็จเป็น “วาสิฏฺฐ” ณ ปัจจัยที่มีอยู่ใน “วาสิฏฺฐ” นี้มกล่าวอรรถ “อปจฺจ ลูก” ท่ถูกลบไป. นอกจากนี้ มย ปัจจัย ในทานมยํ ก็สามารถกล่าวอรรถสกตฺถ (อรรถของตนคือทานนั่นเอง) ได้. ถึงแม้มยปัจจัยจะกล่าวซ้ำอรรถเดิมอีก แต่ก็ได้ชื่อว่า วาจกปัจจัย เหมือนกั้น เพราะกล่าวอรรถทานนั้นด้วย. ตัทธิตปัจจัยและสกตฺถปัจจัยอื่นๆ ก็มีนัยนี้. จากคาถานี้แสดงว่า ในคัมภีร์ปทรูปสิทธิก็มีความเห็นว่า วิภัตติเป็นโชตก มิใช่วาจก ดังนั้น อรรถของวิภัตติที่กล่าวไว้ในที่นี้ คือ อรรถของการกนั่นเองที่ถูกวิภัตติสื่อออกมา แต่กล่าวว่าเป็นอรรถของวิภัตติ. สรุปว่า ปัจจัยมี ๒ อย่าง คือ
๑. โชตกปัจจัย ปัจจัยที่ส่องอรรถของปกติ คือ ลิงค์ให้ปรากฏมี ๓ ตัว อา อี อินี เช่น กญฺญา นที ยกฺขินี.
 ๒. วาจกปัจจัย ปัจจัยที่กล่าวอรรถของปัจจัยและสกัตถะ ได้แก่ พวกตัทธิตปัจจัยทั้งหลาย เช่น ณ ปัจจัย ในคำว่า วสิฏฺฐ และ ณิกปัจจัยในคำว่า สสงฺขาริก.
          ด้วยข้อความนี้แสดงว่า โชตก มี ๒ คือ วิภัตตินามและอิตถีโชตกปัจจัย ส่วนวาจกมี ๔ คือ สมาส ตัทธิต อาขยาตและกิตก์ ตัทธิตมีคำอธิบายโดยนัยที่กล่าวมาแล้ว ส่วนบทสมาสชื่อว่า วาจก เพราะกล่าวอรรถใหม่เป็นพิเศษต่างจากในเวลาที่เป็นวากยะ (รูปวิเคราะห์หรือรูปเดิมของตนก่อนเข้าสมาส) อาขยาต คือ วิภัตติ ที่กล่าวความพิเศษให้แก่ธาตุที่ถือเป็นรูปเดิมเหมือนกัน โดยความเป็นบท บุรุษ วจนะเป็นต้น แม้กิตก์ก็มีนัยเดียวกับตอาขยาต คือ กล่าวความพิเศษให้แก่ธาตุโดยความเป็นกัตตุสาธนะเป็นต้น.
[9] คัมภีร์สัททัตถเภทจินตา คาถา ๑๒๘  ใน “ประมวลจูฬสัททสาสตร์ ๓๑ คัมภีร์” หน้า ๑๒.
[10] จากข้อความที่มาในปทรูปสิทธิมัญชรีเล่ม ๑อธิบายสูตรที่ ๒๘๔

21/2/58

การใช้จตุตถีวิภัตติ 3

ข้อยกเว้น
คำว่า ทาตุกาโม ผู้ปรารถนาเพื่อให้ ในตัวสูตรแสดงข้อยกเว้นไว้ว่า กรณีที่ผู้ให้ไม่ปรารถนาจะให้ ผู้รับวัตถุหรือกิริยานั้นไม่จัดเป็นสัมปทานการกะในที่นี้. เช่น
รญฺโญ ทณฺฑํ ททาติ
ททาติ ย่อมให้ ทณฺฑํ ซึ่งค่าปรับ รญฺโญ (หตฺเถ ในพระหัตถ์) ของพระราชา.
ตามปกติ ผู้ให้ค่าปรับจะไม่ยินดีในการให้นั้น ด้วยเหตุนี้ ในประโยคนี้ ท่านจึงไม่ถือว่า รญฺโญ เป็นสัมปทานการกะ. ตามขนบนิยมแล้ว ท่านจะเติมบทว่า หตฺเถ เข้ามาแล้วแปลว่า “ให้ค่าปรับในพระหัตถ์ของพระราชา” นั่นคือ รญฺโญ เป็นสามีสัมพันธ์ใน หตฺเถ. [1]
อีกนัยหนึ่ง การให้นั้น ต้องเป็นการให้ด้วยความเต็มใจ ผู้รับจึงจะได้ชื่อว่า สัมปทาน เพราะกล่าวไว้ในสูตรว่า ทาตุกาโม. ถ้าเป็นการให้อย่างไม่เต็มใจ เพราะถูกบังคับก็ดี เพราะเหตุอย่างอื่นก็ดี ผู้รับนั้น ไม่ชื่อว่า สัมปทาน เช่น รญฺโญ ในคำว่า “รญฺญ ทณฺฑํ ททาติ” ในประโยคนี้ แม้ความหมายจะบ่งว่า “เขาให้เงินค่าปรับ แก่พระราชา” ก็จริง แต่การให้เงินค่าปรับนั้น เป็นการให้เพราะถูกบังคับ ไม่ใช่เต็มใจให้ เพราะฉะนั้น บทว่า “รญฺโญ” จึงไม่จัดเป็นสัมปทาน เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงแปลเป็นสัมพันธะ (ฉัฏฐีวิภัตติ) ว่า “รญฺโญ ของพระราชา” เพราะพระราชาเป็นเจ้าของเงินค่าปรับ. นี้เป็นความเห็นของอาจารย์ไวยากรณ์ แต่ตามพระบาฬีอรรถกถา บทว่า “รญฺโญ” นี้ สามารถเป็นสัมปทานได้.[2]

๒. ข้อความว่า  ยสฺส โรจเต วา  ได้แก่ สัมปทานเป็นที่ชอบใจ เช่น
สมณสฺส โรจเต สจฺจํ
สจฺจํ ความจริง โรจเต ย่อมชอบใจ สมณสฺส แก่สมณะ
มายสฺมนฺตานมฺปิ สํฆเภโท รุจฺจิตฺถ
สํฆเภโท สังฆเภท มา รุจฺจิตฺถ อย่าได้ชอบใจแล้ว   อายสฺมนฺตานํ ปิ                  แม้แก่ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย.
ยสฺสายสฺมโต ขมติ
(อุปสมฺปทา) การอุปสมบท ขมติ ย่อมชอบใจ ยสฺส อายสฺมโต แก่ท่าน -           ผู้มีอายุรูปใด.



[1] ปทรูปสิทธิมัญชรี ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในที่นั้น
[2] ปทรูปสิทธแปลและอธิบาย.   ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในปทรูปสิทธิมัญชรี เรื่องการกกัณฑ์ 

การใช้จตุตถีวิภัตติ 2

ในสูตรนี้แบ่งสัมปทานเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ตามข้อความของสูตร คือ
๑. ข้อความว่า ยสฺส ทาตุกาโม ได้แก่ สัมปทานที่เป็นผู้รับกิริยาหรือวัตถุ ที่เขาให้ด้วยดี.
สัมปทานชนิดนี้มี ๓ อย่าง คือ
๑. อนิรากรณสัมปทาน สัมปทานไม่ห้าม เช่น
พุทฺธสฺส ปุปฺผํ ยชติ
ยชติ ย่อมถวาย ปุปฺผํ ซึ่งดอกไม้ พุทฺธสฺส แก่พระพุทธเจ้า
โพธิรุกฺขสฺส ชลํ ททาติ
ททาติ ย่อมให้ ชลํ ซึ่งน้ำ โพธิรุกฺขสฺส แก่ต้นโพธิ์
คำว่า พุทฺโธ ในที่นี้ ได้แก่ พระพุทธรูป พระพุทธรูปนั้น ไม่มีการห้ามดอกไม้ ที่คนนำไปบูชา. ต้นไม้ไม่มีการห้ามน้ำที่คนน้ำไปรด เพราะฉะนั้น พุทฺธสฺส และ โพธิรุกฺขสฺส จึงชื่อว่า อนิรากรณสัมปทาน
๒. อาราธนสัมปทาน สัมปทานเชื้อเชิญ. เช่น
ยาจกานํ ธนํ ททาติ
ททาติ ย่อมให้ ธนํ ซึ่งทรัพย์ ยาจกานํ แก่ยาจก.
ยาจกเป็นผู้ขอทรัพย์ ในวลาที่ขอมีการกระตุ้นเตือนคนอื่นให้ให้ทาน ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ร้องขอด้วยอาการที่น่าสงสาร เล่นดนตรี หรือร้องเพลงเป็นต้น เพราะฉะนั้น ยาจก จึงชื่อว่า อาราธนสัมปทาน (บุคคลที่ประกาศเชิญชวนให้บริจาคทาน ก็สงเคราะห์เข้าในข้อนี้)
๓. อัพภนุญญสัมปทาน สัมปทานอนุญาต.  เช่น
ภิกฺขูนํ ทานํ เทติ
เทติ ย่อมถวาย ทานํ ซึ่งทาน ภิกฺขูนํ แก่ภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลายออกขอไม่ได้เพราะผิดวินัย และไม่มีการกระตุ้นเตือนเหมือนยาจก, คนทั้งหลาย ถวายแก่ภิกษุด้วยศรัทธา ภิกษุก็รับไทยทานนันด้วยความพอใจ เพราะฉะนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า อนุมติสัมปทาน เพราะเป็นการให้ที่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้รับก่อน กล่าวคือ ผู้ให้ต้องยินดีพอใจที่จะให้ด้วยศรัทธา.

การใช้จตุตถีวิภัตติ 1

๓. อรรถแห่งจตุตถีวิภัตติ
จตุตถีวิภัตติ ใช้ในอรรถต่างๆ ดังนี้
๑. สัมปทานะ         
๒ ในที่ประกอบกับสิลาฆธาตุเป็นต้น
๓ ในที่ประกอบกับนโมศัพท์
๔ ในนามศัพท์ที่เป็นภาวสาธนะและอนาคตกาล.

****–

๑. สัมปทานะ
ความหมายของสัมปทานะ ท่านแสดงไว้ด้วยสูตรนี้ คือ
๓๐๒. ยสฺส ทาตุกาโม โรจเต ธารยเต วา, ตํ สมฺปทานํ
ผู้ปรารถนาเพื่อให้ย่อมให้แก่การกะใด, หรือย่อมพอใจแก่การกะใด หรือย่อมทรงไว้แก่การกะใด การกะนั้น ชื่อว่า สัมปทานะ.
อธิบาย สูตรนี้เป็นสัญญาสูตรตั้งชื่อนามศัพท์ที่เป็นชื่อของปฏิคคาหก คือ ผู้รับว่า สมฺปทาน. คำว่า สมปทาน มาจาก สํ + ป + ทา ธาตุ ให้ + ยุปัจจัย ในสัมปทานสาธนะ มีรูปวิเคราะห์ว่า
สมฺมา ปทียเต อสฺสาติ สมฺปทานํ, ปฏิคฺคาหโก
วัตถุหรือกิริยา อันบุคคลย่อมให้ แก่การกะนั้น ด้วยดี เหตุนั้น การกะนั้น ชื่อว่า สัมปทานะ คือ ผู้รับ.
สํ อุปสัคในที่นี้กล่าวอรรถ สมฺมา (ด้วยดี) คำว่า การให้ด้วยดี จึงหมายถึง การให้ด้วยวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ  การให้เพื่อบูชา  การให้เพื่อยกย่อง การให้เพื่อสงเคราะห์. อย่างไรก็ตาม แม้การให้ที่ไม่ได้ให้ด้วยจุดประสงค์ดังกล่าว ก็ชื่อว่า การให้ในคำว่า สมฺมา ปทียเต นี้ได้[1]  ดังนั้น การกะที่เป็นผู้รับกิริยาหรือวัตถุ ที่ผู้ให้ให้ด้วยหวังจะบูชาเป็นต้น ชื่อว่า สัมปทานการกะ.





[1] สัททนีติปกรณ์ สุตตมาลาสูตร ๕๕๔ กล่าวว่า แม้จะเป็นการให้ด้วยความไม่เคารพก็จัดเป็นสัมปทาน ได้เช่นกัน.  ดูรายละเอียดในปทรูปสิทธิมัญชรี.