14/10/56

๒ อักขรวิธี ว่าด้วยเรื่องราวแห่งตัวอักษร

อักขรวิธี  ว่าด้วยเรื่องราวแห่งตัวอักษร

            ๖.  คำว่า อักขระ หรืออักษรนั้น แปลตรงตัวว่า เป็นสิ่งที่ไม่สิ้นไป และไม่เป็นสิ่งที่ไม่เเข็ง.
            ที่ว่า ไม่สิ้นไป นั้นหมายความว่า เสียงหรือตัวหนังสือเหล่านี้ ที่เป็นของชาติภาษาใด ถ้าจะกล่าวหรือเขียนสักเท่าใด ๆ เสียงและตัวหนังสือนั้น ก็ไม่สิ้นไป.
            ที่ว่า ไม่แข็ง นั้นหมายความว่า คือ ชนชาติที่เป็นเจ้าของภาษานั้นใช้ไม่ยาก หรือไม่มีความติดขัด ที่จะใช้อักษรเหล่านี้ ซึ่งต่างจากภาษาอื่นที่ยากต่อการเรียนรู้.
            ถ้ามองในแง่ของภาษาบาลีโดยเฉพาะแล้ว จะได้ความหมายว่า อักษรในภาษาบาลีสามารถสื่อความหมายแห่งพระพุทธพจน์ที่มีความสุขุม ประณีต ลุ่มลึกได้อย่างเหมาะสม โดยไม่ติดขัด (ไม่แข็ง) และอักษรเหล่านั้นก็ไม่หมดสิ้นไป (ไม่สิ้นไป)อีกด้วย.
            ๗. เนื้อความทั้งปวงต้องใช้อักษรเป็นเครื่องสื่อความหมาย เมื่ออักษรวิบัติเสียแล้ว ทำให้เนื้อความนั้นเข้าใจยาก ดังนั้น จึงสมควรเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในอักษรเหล่านี้.
            ๘. อักขรวิธี คือ วิธีที่จัดการเกี่ยวกับตัวอักษร ได้แก่ การแสดงชื่อ การตั้งชื่อ และการกระทำสิ่งต่าง ๆ กับตัวอักษร วิธีดังกล่าวนั้น แบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ สมัญญาภิธานและสนธิ. ในสมัญญาภิธานและสนธินั้น จะเรียนสมัญญาภิธานก่อน ส่วนสนธินั้นจะเรียนต่อจากนามศัพท์.
            ๙.  สมัญญาภิธาน มาจากคำว่า สมัญญา แปลว่า ชื่อ  + วิธาน แปลว่า วิธีการ.  รวมความว่า เป็นวิธีที่จัดการเกี่ยวกับชื่อของตัวอักษร ได้แก่ การแสดงตัวอักษรเหล่านั้น ไปตามฐานที่เกิด และลักษณะที่ออกเสียงเป็นต้น ตลอดจนชื่อเรียกของอักษรตามหลักเกณฑ์ไวยากรณ์.
           

นนน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น