24/5/59

อินฺทฺรืย มาจากไหน

#ศัพท์บาฬีน่ารู้
“อินฺทรฺิย”  มีความหมายตามรากศัพท์

อินฺทฺริย เป็นนามศัพท์ที่มีขัันตอนในการสำเร็จรูปมากและมีความหมายที่หลากหลาย. คัมภีร์ไวยากรณ์และคัมภีร์ฝ่ายพระอภิธรรม ได้ให้ความหมายไว้เป็น ๒ แบบ คือ ชนิดที่สำเร็จรูปมาจากธาตุ, นามศัพท์ และปัจจัย (นิปผันนปาฏิปทิกะ) และ ไม่สำเร็จรูปมาจากธาตุเป็นต้น (อนิปผันนปาฏิปทิกะ).
๑. กรณีที่มาจากนามศัพท์และธาตุลงปัจจัย (นิปผันนปาฏิปทิกะ).
(๑) อินฺท ศัพท์ ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง + ณิย ปัจจัยในอรรถว่า แสดง เป็นต้น และมีการแปลง ท ท้าย อินฺท เป็น ทฺร ได้รูปเป็น อินฺทฺริย (นิรุตติทีปนี)
ก่อนอื่น อินฺท เป็นนามศัพท์  โดยมีรากศัพท์มาจาก อิทิ ธาตุ ในอรรถว่า ปรมิสฺสริย ใหญ่ยิ่ง.  เมื่อกล่าวโดยสามัญ หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง แต่โดยเจาะจง ได้แก่
๑. พระอินทร์ คือ ท้าวสักกเทวราช เพราะทรงเป็นใหญ่เหนือทวยเทพ
๒. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่
๓. กุศลกรรมอกุศลกรรม ในฐานะที่เป็นธรรมชาตที่ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่กว่าและเหนือกว่า.
สำหรับความหมายที่ประสงค์เอาในที่นี้ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและกุศลอกุศลกรรมเท่านั้น เพราะเป็นที่มาของคำว่า อินฺทฺริย.
คัมภีร์สัททนีติ อธิบายว่า ลง ณิย ปัจจัยท้าย อินฺท ศัพท์ในอรรถว่า เป็นสิ่งที่แสดงให้รู้, เป็นสิ่งที่ทำให้สำเร็จ, สิ่งที่ถูกแสดง, สิ่งที่ถูกเห็น, การเสพ และความเป็นใหญ่. (สูตร ๗๖๓. อินฺทโต ลิงฺคสิฏฺฐเทสิตทิฏฺฐชุฏฺฐิสฺสริยตฺเถ จ.)

ก. แสดงกุศลและอกุศลกรรม อันใหญ่ยิ่ง
อินฺทฺริย กล่าวคือ จักขุเป็นต้น เป็นสิ่งที่เกิดจากกรรม จึงเป็นสภาพที่แสดงกุศลและอกุศลกรรมที่เรียกว่า อินทะ โดยนัยนี้ ณิย มีอรรถว่า ลิงฺค แสดง.

ข. สำเร็จจากกุศลและอกุศลกรรมนั้น
จักขุเป็นต้นนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่สำเร็จจากกรรมนั้น โดยนัยนี้ ณิย มีอรรถว่า สิทฺธ สำเร็จ
ทั้งสองนัยดังกล่าวมานี้ มีรูปวิเคราะห์ว่า
กมฺมสญฺชนิตานิ จกฺขาทีนิ อิทํ กุสลากุสลํ กมฺมํ อุปลิงฺเคนฺติ, เตน จ สิทฺธานีติ อินฺทฺริยานิ
ปสาทรูปมีจักษุเป็นต้นที่เกิดจากกรรม ย่อมแสดงกุศลกรรมและ อกุศลกรรมที่เรียกว่า อินฺท นี้, และปสาทรูปมีจักษุเป็นต้น ก็สำเร็จแล้วด้วยกรรมนั้น เพราะเหตุนั้น ปสาทรูปเหล่านั้น ชื่อว่า อินฺทฺริย.

ค. ถูกแสดงโดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงใหญ่ยิ่ง
แม้อินทรีย์ ๒๒ ทั้งหมด ชื่อว่า อินฺทริย เพราะเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงสมัญญาว่า องค์อินทร์ ทรงแสดงแล้วตามความเป็นจริง โดยนัยนี้ ณิย ปัจจัย มีอรรถว่า เทสิต ถูกแสดง มีรูปวิเคราะห์ว่า
อินฺเทน ภควตา ยถาภูตโต เทสิตานีติ อินฺทฺริยานิ.
ชื่อว่า อินฺทริย เพราะเป็นสภาวธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงสมัญญาว่า องค์อินทร์ ได้ทรงแสดงแล้วตามความเป็นจริง.

ง. ถูกเห็นโดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อินทรีย์ทั้ง ๒๒ นั้น ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะมีอรรถว่า ทิฏฺฐ ถูกเห็น ดังรูปวิเคราะห์ว่า
อินฺเทน ภควตา ทิฏฺฐานีติ อินฺทฺริยานิ
สิ่งที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงสมัญญาว่า องค์อินทร์ เห็นแล้ว  ดังนั้น จึงชื่อว่า อินฺทริย หมายถึง สัทธินทรีย์เป็นต้น

จ. ถูกสร้องเสพ
บรรดาอินทรีย์ ๒๒ ก็ชื่อ อินทรีย์ เพราะมีอรรถว่า ชุฏฐ ถูกสร้องเสพ
มีรูปวิเคราะห์ว่า
เตเนว จ อินฺเทน ภควตา กานิจิ โคจราเสวนาย, กานิจิ ภาวนาเสวนาย ชุฏฺฐานีติ อินฺทฺริยานิ
อินทรีย์บางอย่างอันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงสมัญญาว่า องค์อินทร์นั้นสร้องเสพแล้วด้วยการเสพเป็นอารมณ์, และสร้องเสพแล้วด้วยการเสพ โดยการอบรม ดังนั้น จึงชื่อว่า อินทรีย์ ได้แก่ อินทรีย์ ๒๒.

ง. ความเป็นใหญ่
อินฺทฺริย หมายถึง ความเป็นใหญ่.
อาธิปจฺจสงฺขาเตน อินฺทฺริยฏฺเฐนาปิ อินฺทฺริยานิ.
ความเป็นใหญ่ กล่าวคือ อำนาจ.

(๒). มาจาก อิทิ ธาตุ ที่หมายถึง กระทำความเป็นใหญ่ + ณ ปัจจัย และแปลง ท เป็น ทฺร เช่นกัน
ก. สร้างความเป็นใหญ่ มีรูปวิเคราะห์ว่า
อินฺทนฺติ ปรมิสฺสริยํ กโรนฺตีติ อินฺทฺริยานิ. (มูลฎี.๒/๗๙)
สภาวะที่กระทำความเป็นใหญ่ยิ่ง ชื่อว่า อินทรีย์
อินฺทฏฺฐการาปนฏฺเฐน อินฺทฺริยานิ นาม (มณิ.มัญชู. ๒/๒๕๘)
ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะเป็นใหญ่ด้วยตนเอง และ ให้ทำความเป็นใหญ่.

ข. สภาวะที่ควบคุม มีรูปวิเคราะห์ว่า
อินฺทนฺตีติ อินฺทฺริยํ
สภาวะที่ควบคุม ชื่อว่า อินทรีย์. (นีติ.สุตฺต)
อีสติ จกฺขุวิญฺญาณาทีนิ อตฺตโน วเส วตฺตาปนวเสน อภิภวตีติ อีสิยํ, กตฺตริ ณฺยปจฺจโย, นิรุตฺตินเยน ปน อินฺทฺริยนฺติ วุตฺตนฺติ ทฏฺฐพฺพํ. (มณิ.มัญชู. ๒/๒๕๘)
สภาวะที่ควบคุม โดยเนื่องด้วยทำจักขุวิญญาณเป็นต้นให้เป็นไปในอำนาจของตน ชื่อว่า อินทรีย์, อีส ธาตุ ควบคุม + ณฺย ปัจจัยในอรรถกัตตา และสำเร็จรูปเป็น อินฺทฺริย โดยนิรุตตินัย (วิธีพิเศษไม่เกี่ยวกับกฎไวยากรณ์)


๒. ในกรณีที่ไม่ได้มาจากนามศัพท์หรือธาตุลงปัจจัย (อนิปผันนปาฏิปทิกะ)
วิธีการสำเร็จรูปเป็นนามศัพท์ดังกล่าวมาเรียกว่า นิปผันนปาฏิปทิกะ เพราะได้มาจากธาตุและปัจจัย.  แต่สามารถมองว่า ยังเป็นนามศัพท์ชนิด อนิปผันนปาฏิปทิกะ ไม่สำเร็จมาจากธาตุและปัจจัยอีกด้วย คัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกากล่าวว่า
อิสฺสรฏฺเฐน อินฺทฺริยานิ
ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะสภาวะเป็นใหญ่.
โดยนัยนี้ อินฺทฺริย ไม่ต้องคำนึงว่า มาจากธาตุหรือนามศัพท์ที่ประกอบปัจจัยใดๆ เป็นนามศัพท์ชนิดที่ใช้ในความว่าเป็นใหญ่เท่านั้น.

คำว่า อินฺทฺริย ไม่ว่าจะแปลกแตกต่างกันไปโดยสัททนัย โดยประการใดก็ตาม ก็ได้แก่ อินทรีย์ ๒๒ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น และ อินทริยธรรม ๕ มีสัทธินทรีย์เป็นต้น.
อินทรีย์ที่ควรเจริญให้มาก ก็คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา
อินทรีย์ที่ควรควบคุมไม่ให้อาสวะไหลท่วมทับได้ ได้แก่ จักขุนทรีย์มีมนินทรีย์เป็นที่ ๖
อินทรีย์ที่ควรทำให้เกิดได้แก่ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ๑ อัญญินทรีย์ ๑ อัญญาตาวินทรีย์ ๑.

“ผู้ใดเอาชนะอินทรีย์ได้ ผู้นั้นชื่อว่า ผู้อยู่เหนือโลกนี้แน่นอน”

ด้วยความปรารถนาดี
สมภพ สงวนพานิช




“สัททนีติ สุตตมาลา” (๑)
๗๖๓. อินฺทโต ลิงฺคสิฏฺฐเทสิตทิฏฺฐชุฏฺฐิสฺสริยตฺเถ จ.
ณิโย.ณิย ปัจจัย โหติ ย่อมลง ปรํ เบื้องหลัง อินฺทโต จาก อินฺทศัพท์ ลิงฺคสิฏฺฐเทสิตทิฏฺฐ-ชุฏฺฐิสฺสริยตฺเถ ในอรรถลิงฺค "สิ่งที่แสดงให้รู้", อรรถสิฏฺฐ (สิทฺธ) "สิ่งที่ให้สำเร็จ", อรรถเทสิต "สิ่งที่ถูกแสดง, อรรถทิฏฺฐ "สิ่งที่ถูกเห็น", อรรถชุฏฺฐ "การเสพ" และอรรถอิสฺสริย "ความเป็นใหญ่" จ ด้วย.

ลิงฺคตฺเถ สิฏฺฐตฺเถ เทสิตตฺเถ ทิฏฺฐตฺเถ ชุฏฺฐตฺเถ อิสฺสริยตฺเถ จ วตฺตพฺเพ อินฺทสทฺทโต ณิยปจฺจโย               โหติ.
และลง ณิย ปัจจัยท้ายอินฺทศัพท์ในสิ่งที่แสดงให้รู้, สิ่งที่ทำให้สำเร็จ, สิ่งที่ถูกแสดง, สิ่งที่ถูกเห็น, การเสพ และความเป็นใหญ่.

อินฺทฺริยานีติ เอตฺถ หิ อินฺโท วุจฺจติ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ปรมิสฺสริยภาวโต,กุสลากุสลญฺจ กมฺมํ กมฺเมสุ กสฺสจิ อิสฺสริยาภาวโต.
ก็ อินฺท ในคำว่า อินฺทฺริยานิ นี้ หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในฐานะที่พระองค์ ทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่ และหมายถึงกุศลกรรมและอกุศลกรรม ในฐานะที่เป็นธรรมชาตที่ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่กว่าและเหนือกว่า.

ตสฺมา กมฺมสญฺชนิตานิ จกฺขาทีนิ อิทํ๑ กุสลากุสลํ กมฺมํ อุปลิงฺเคนฺติ,๒ เตน จ สิทฺธานีติ อินฺทฺริยานิ, สพฺพาเนว ปน พาวีสตินฺทฺริยานิ อินฺเทน ภควตา ยถาภูตโต เทสิตานีติ อินฺทฺริยานิ.
เพราะเหตุนั้น ปสาทรูปมีจักษุเป็นต้นที่เกิดจากกรรม ย่อมแสดงกุศลกรรมและ อกุศลกรรมที่เรียกว่า อินฺท นี้, และปสาทรูปมีจักษุเป็นต้น ก็สเร็จแล้วด้วยกรรมนั้น เพราะเหตุนั้น ปสาทรูปเหล่านั้น ชื่อว่า อินฺทฺริย, จะอย่างไรก็ตาม อินทรีย์ ๒๒ ทั้งหมด นั่นเทียว ชื่อว่า อินฺทริย เพราะเป็นสภาวธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงสมัญญาว่า องค์อินทร์ ได้ทรงแสดงไว้แล้วตามความเป็นจริง


“สัททนีติ สุตตมาลา” (๒ ต่อ)

ตถา อินฺเทน ภควตา ทิฏฺฐานีติ อินฺทฺริยานิ, เตเนว จ อินฺเทน ภควตา กานิจิ โคจราเสวนาย, กานิจิ ภาวนาเสวนาย ชุฏฺฐานีติ อินฺทฺริยานิ,
เช่นเดียวกันนี้:-
อินฺทริย หมายถึงสิ่งที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงสมัญญาว่าองค์อินทร์ เห็นแล้ว
อินฺทฺริย หมายถึงอินทรีย์บางอย่างอันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงสมัญญาว่า องค์อินทร์นั้น สร้องเสพแล้วด้วยการเสพเป็นอารมณ์, และสร้องเสพแล้วด้วยการเสพ โดยการอบรม

อาธิปจฺจสงฺขาเตน อินฺทฺริยฏฺเฐนาปิ อินฺทฺริยานิ.
 อินฺทฺริย หมายถึงความเป็นใหญ่กล่าวคืออำนาจ


อปิจ อินฺทนฺตีติ อินฺทฺริยานิ
อีกนัยหนึ่ง อินฺทฺริย หมายถึงสิ่งควบคุม

อตฺร ปนิทมฺปิ อุปลกฺขณียํ. าอินฺทสฺส ภาโว อินฺทิยนติ วิคฺคเห าอินฺทิยนติ ปทํ สกฺกตฺตญฺเืว วทติ, ตเทว ปทํ ทการสฺส ทฺรกาเร กเต จกฺขาทีนิเยว วทติ. สงฺเกตนิรูฬฺโห หิ สทฺโท อตฺเถสูติ.
ก็เกี่ยวกับคำว่า อินฺทฺริย นี้ ยังมีประเด็นที่ควรจดจำดังต่อไปนี้.
ในกรณีที่วิเคราะห์ว่า
อินฺทสฺส ภาโว อินฺทิยํ
ความเป็นแห่งบุคคลผู้เป็นใหญ่ ชื่อว่า อินฺทิย.
บทว่า อินฺทิย ในที่นี้ ระบุถึงความเป็นพระอินทร์เท่านั้น. แต่เมื่อแปลง ท เป็น ทฺร บทว่า อินฺทฺริย จะระบุถึงอินทรีย์มีจักษุเป็นต้นเท่านั้น สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ธรรมชาตของศัพท์ ย่อมถูกนำมาใช้สำหรับสื่อความหมาย ตามที่ชาวโลกบัญญัติใช้กัน.
*****************


1 ความคิดเห็น: