9/5/59

อิตฺถิปจฺจยราสิ กลุ่มศัพท์ที่ลงปัจจัยในอิตถีลิงค์

อิตฺถิปจฺจยราสิ
กลุ่มศัพท์ที่ลงปัจจัยในอิตถีลิงค์

๗๐. อิตฺถิยมตฺวา [1]
๗๐. ลง อาปัจจัย ในอิตถีลิงค์ ท้ายนามศัพท์อการันต์

อิตฺถิยํ+อโต+อาติ เฉโทฯ อการนฺตนามมฺหา อิตฺถิยํ อาปจฺจโย โหติฯ
สูตรนี้ตัดบทเป็น อิตฺถิยํ + อโต + อา. ความหมายคือ อาปัจจัย ย่อมลง ในอิตถีลิงค์ ท้ายนามศัพท์ที่เป็นอการันต์.

อภาสิตปุเมหิ เกหิจิ สญฺญาสทฺเทหิ นิจฺจํ
กญฺญา,  ปญฺญา,  สญฺญา,  นาวา,  สาลา,  ตณฺหา,  อิจฺฉา, ภิกฺขา,  สิกฺขา,  คีวา,  ชิวฺหา, วีสา,  ติํสา, จตฺตาลีสา,  ปญฺญาสา อิจฺจาทิฯ
ท้ายสัญญาศัพท์บางศัพท์ ซึ่งไม่เคยกล่าว (หรือใช้ใน) ปุงลิงค์ ลงอาปัจจัยแน่นอน เช่น
กญฺญา = หญิงสาว, ปญฺญา = ปัญญา, สญฺญา =  สัญญา, นาวา =  เรือ, สาลา =  โรง, ตณฺหา = ความอยาก,  อิจฺฉา =  ความปรารถนา, ภิกฺขา =  อาหาร, สิกฺขา =  ข้อปฏิบัติ, คีวา =  คอ, ชิวฺหา =  ลิ้น, วีสา =  ยี่สิบ, ติํสา =  สามสิบ, จตฺตาลีสา =  สี่สิบ, ปญฺญาสา = ห้าสิบ.[2]

ภาสิตปุเมหิปิ สพฺพนาเมหิ ตพฺพา, นีย, ตปจฺจยนฺเตหิ จ นิจฺจํ
สพฺพา, กตรา, กตมา, อนุภวิตพฺพา, อนุภวนียา, คตา, ชาตา, ภูตา, หูตา อิจฺจาทิฯ
ถึงที่เป็นสัพพนาม บทที่ลงตพฺพ อนีย และ ตปัจจัย แม้จะเคยใช้ในปุงลิงค์ ก็ลงอาปัจจัยแน่นอนเหมือนกัน เช่น
สพฺพา = ทั้งหมด, กตรา = พวกไหน, กตมา = พวกไหน, อนุภวิตพฺพา, อนุภวนียา = พึงเสวย, คตา = ไปแล้ว, ชาตา = เกิดแล้ว, ภูตา = เป็นแล้ว,  หูตา = เป็นแล้ว.




[1] [ก. ๒๓๗; รู. ๑๗๖; นี. ๔๖๖; จํ. ๒.๓.๑๕; ปา. ๔.๑.๔]
[2] สัญญาศัพท์ หมายถึง ชื่อเฉพาะที่นิยมใช้เรียกกันทางโลก ไม่ได้สำเร็จจากธาตุปัจจัยอะไร เป็นศัพท์จำพวกรุฬหี หรือเรียกว่า อนิปผันนปาฏิปทิกะ.  ในที่นี้ หมายถึง สัญญาศัพท์ บางศัพท์ที่ใช้เป็นอิตถีลิงค์อย่างเดียว และจะต้องไม่ใช่เป็นคำที่สามารถนำมาใช้ในปุงลิงค์. ด้วยคำนี้ แสดงว่า ศัพท์เหล่านี้ ใช้เป็นชื่อเรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น กญฺญ แล้วลง อา กลายรูปเป็น กญฺญา ความหมาย คือ ผู้หญิง โดยมิต้องคำนึงถึงการสำเร็จรูปว่ามาจากธาตุและปัจจัยใด คือ มิใช่มีความหมายตามศัพท์ว่า ผู้ยังชายให้รักใคร่. ปญฺญา คือ สภาพธรรมที่เรียกว่า ปัญญา, มิใช่ใช้ในความหมายว่า ความรอบรู้ในสังขารทั้งปวง ดังนี้เป็นต้น  จึงเป็นศัพท์อิตถีลิงค์ โดยการลงอาปัจจัยท้ายนามศัพท์เหล่านี้.  แม้จำนวนนับ คือ วีสา เป็นต้น ก็มีรูปเดิมมาจาก วีส และลง อาปัจจัยเพื่อเป็นอิตถีลิงค์เท่านั้น. กรณีนี้ถือเป็นอีกมติหนึ่ง ที่ต่างไปจากวิธีการที่คัมภีร์กัจจายนะและปทรูปสิทธิแสดงไว้ ซึ่งผู้สนใจดูวิธีการลงอาปัจจัยเหล่านี้ได้ในคัมภีร์ปทรูปสิทธิสูตรที่ ๔๑๓. คณเน ทสสฺส ทฺวิติ จตุ ปญฺจ ฉ สตฺต อฏฺฐนวกานํ วีติ จตฺตาร ปญฺญา ฉ สตฺตาส นวา โยสุ โยนญฺจี สมาสํ ฐิริ ตีตุติ, และ๔๑๔ ติ จ ที่แสดงกระบวนการสำเร็จรูปตามระบบไวยากรณ์ภาษาบาฬีอย่างมีขั้นตอน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น