การกะ
คัมภีร์ปทรูปสิทธิ
กล่าวถึงการกในความหมายว่าเป็นอรรถของวิภัตติทั้ง ๗ ว่า “วิภตฺตีนมตฺถเภทา ความหมายของวิภัตติต่างๆ”[1].
หนังสือบาลีไวยากรณ์
นำการกมากล่าวไว้ในส่วนหนึ่งของวากยสัมพันธ์ โดยอรรถาธิบายรวมกับอรรถของวิภัตติต่างๆ
เช่นกัน ว่าเป็นบทนามนามที่ประกอบด้วยวิภัตติแล้วมีอรรถแตกต่างกัน เป็นต้นว่า บทนามนามที่ประกอบด้วยทุติยาวิภัตติใช้ในอรรถ
๖ อย่าง เข้ากับกิริยา.และในบทนำของวากยสัมพันธ์ว่า
คัมภีร์สัททนีติให้คำนิยามของ
การก ไว้ว่า
กิริยานิมิตฺตํ การกํ
การกคือเหตุแห่งการทำกิริยาให้สำเร็จ.
ยํ
สาธนสภาวตฺตา มุขฺยวเสน วา อุปจารวเสน วา กฺริยาภินิปฺผตฺติยา นิมิตฺตํ, ตํ วตฺถุ การกํ นาม ภวติ.
มุโขฺยปจารวเสน หิ กฺริยํ กโรตีติ การกํ
สิ่งที่เป็นเหตุทำกิริยาให้สำเร็จ
ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม ชื่อว่า การกะ เพราะมีศักยภาพทำกิริยาให้สำเร็จได้
ดังมีรูปวิเคราะห์ว่า มุโขยฺปจารวเสน กฺริยํ กโรตีติ การกํ [2]
อธิบายได้ว่า
คำว่า นิมิต ในสูตรนี้
หมายความว่า เป็นมูลหรือเป็นเหตุแห่งกิริยา
ซึ่งมีลักษณะสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับกิริยา (กิริยาสมฺพนธนลกฺขณํ การกํ)
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การกเป็นลักษณะของคำนามที่ประกอบด้ววิภัตติต่างๆ
แล้วมีความสัมพันธ์กับกิริยา เข่น เป็นผู้กระทำกิริยา เรียกว่า กัตตุการก
เป็นกรรมของกิริยา เรียกว่า กัมมการก เป็นเครื่องมือของกิริยา เรียกว่า กรณการก
โดยสรุป การก คือ
ลักษณะของคำนามที่เกี่ยวข้องกับกิริยาโดยมีวิภัตติเป็นตัวบอกให้ทราบว่าเป็นการกใด.
[3]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น