21/2/58

การใช้จตุตถีวิภัตติ 3

ข้อยกเว้น
คำว่า ทาตุกาโม ผู้ปรารถนาเพื่อให้ ในตัวสูตรแสดงข้อยกเว้นไว้ว่า กรณีที่ผู้ให้ไม่ปรารถนาจะให้ ผู้รับวัตถุหรือกิริยานั้นไม่จัดเป็นสัมปทานการกะในที่นี้. เช่น
รญฺโญ ทณฺฑํ ททาติ
ททาติ ย่อมให้ ทณฺฑํ ซึ่งค่าปรับ รญฺโญ (หตฺเถ ในพระหัตถ์) ของพระราชา.
ตามปกติ ผู้ให้ค่าปรับจะไม่ยินดีในการให้นั้น ด้วยเหตุนี้ ในประโยคนี้ ท่านจึงไม่ถือว่า รญฺโญ เป็นสัมปทานการกะ. ตามขนบนิยมแล้ว ท่านจะเติมบทว่า หตฺเถ เข้ามาแล้วแปลว่า “ให้ค่าปรับในพระหัตถ์ของพระราชา” นั่นคือ รญฺโญ เป็นสามีสัมพันธ์ใน หตฺเถ. [1]
อีกนัยหนึ่ง การให้นั้น ต้องเป็นการให้ด้วยความเต็มใจ ผู้รับจึงจะได้ชื่อว่า สัมปทาน เพราะกล่าวไว้ในสูตรว่า ทาตุกาโม. ถ้าเป็นการให้อย่างไม่เต็มใจ เพราะถูกบังคับก็ดี เพราะเหตุอย่างอื่นก็ดี ผู้รับนั้น ไม่ชื่อว่า สัมปทาน เช่น รญฺโญ ในคำว่า “รญฺญ ทณฺฑํ ททาติ” ในประโยคนี้ แม้ความหมายจะบ่งว่า “เขาให้เงินค่าปรับ แก่พระราชา” ก็จริง แต่การให้เงินค่าปรับนั้น เป็นการให้เพราะถูกบังคับ ไม่ใช่เต็มใจให้ เพราะฉะนั้น บทว่า “รญฺโญ” จึงไม่จัดเป็นสัมปทาน เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงแปลเป็นสัมพันธะ (ฉัฏฐีวิภัตติ) ว่า “รญฺโญ ของพระราชา” เพราะพระราชาเป็นเจ้าของเงินค่าปรับ. นี้เป็นความเห็นของอาจารย์ไวยากรณ์ แต่ตามพระบาฬีอรรถกถา บทว่า “รญฺโญ” นี้ สามารถเป็นสัมปทานได้.[2]

๒. ข้อความว่า  ยสฺส โรจเต วา  ได้แก่ สัมปทานเป็นที่ชอบใจ เช่น
สมณสฺส โรจเต สจฺจํ
สจฺจํ ความจริง โรจเต ย่อมชอบใจ สมณสฺส แก่สมณะ
มายสฺมนฺตานมฺปิ สํฆเภโท รุจฺจิตฺถ
สํฆเภโท สังฆเภท มา รุจฺจิตฺถ อย่าได้ชอบใจแล้ว   อายสฺมนฺตานํ ปิ                  แม้แก่ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย.
ยสฺสายสฺมโต ขมติ
(อุปสมฺปทา) การอุปสมบท ขมติ ย่อมชอบใจ ยสฺส อายสฺมโต แก่ท่าน -           ผู้มีอายุรูปใด.



[1] ปทรูปสิทธิมัญชรี ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในที่นั้น
[2] ปทรูปสิทธแปลและอธิบาย.   ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในปทรูปสิทธิมัญชรี เรื่องการกกัณฑ์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น