ประเภทของการก
เมื่อกล่าวถึงสภาพของการก ก็คือ สัตติ ความสามารถในการทำกิริยาให้สำเร็จ มีอยู่ ๖ ประการคือ 1
๑. กัตตุการก การกคือผู้ทำ ประกอบด้วยกิริยานิปผาทนสัตติ คือ ความสามารถในการทำกิริยาให้สำเร็จ เช่น ปุริโส มคฺคํ คจฺฉติ (บุรุษ ไป สู่หนทาง)
๒. กรรมการก การกคือผู้ถูกทำ ประกอบด้วยกิริยาสัมพัชฌนสัตติ คือ ความสามารถในการเนื่องด้วยกิริยา เช่น ปุริโส โอทนํ ปจติ (บุรุษหุงข้าว) ในขณะหุงข้าวอยู่ ข้าวเป็นสิ่งทีเนื่องด้วยกิริยาการหุงอยู่เสมอ ส่วนบุรุษแม้จะเป็นผู้ทำกิริยาการหุง แต่อาจจะไม่เกี่ยวเนื่องกับการหุงตลอดเวลา เพราะเมื่อก่อไฟแล้ว อาจจะไปนอนหลับก็ได้ ข้าว ในคำว่า โอทนํ จึงประกอบด้วยกิริยาสัมพัชฌนสัตติ. อนึ่ง ในตำราอื่นเรียกว่า กิริยาปาปุณนสัตติ ความสามารถในการถูกกิริยาถึง
๓. กรณการก การกะคือเครื่องกระทำ ประกอบด้วยกิริยาสาธกตมสัตติ คือ ความสามารถในการทำกิริยาให้สำเร็จมากกว่ากรรมการกเป็นต้น เช่น ทาตฺเตน วีหึ ลุนาติ (เกี่ยวข้าวด้วยเคียว) เคียวในคำว่า ทาตฺเตน เป็นเครื่องมือในการทำกิริยาเกี่ยวข้าว ถ้าไม่มีเคียวแล้ว การเกี่ยวข้าวย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้ ส่วนใหญ่กรรมการกะเป็นต้น มักปรากฏว่า มีอยู่ ก่อนกว่ากรณการกะ เช่น มีข้าวที่จะต้องเกี่ยว แต่กรณการกะเป็นสิ่งที่ผู้กระทำกิริยาจำเป็นต้องแสวงหาเมื่อทำกิริยานั้นๆ ดังนั้น กรณการก จึงปรากฏว่าเป็นเครื่องมือในการทำกิริยาให้สำเร็จมากกว่ากรรมการกะเป็นต้น โดยยกเว้นกัตตุการก.
๔. สัมปทานการก การกคือที่ให้ (ผู้รับ) ประกอบด้วยวัตถุกิริยาปฏิคคาหกสัตติ คือ ความสามารถในการรับสิ่งของหรือกิริยา เช่น ภิกฺขุสฺส จีวรํ ททาติ (ถวายจีวร แด่ภิกษุ), พุทฺธสฺส สิลาฆเต (ย่อมสรรเสริญพระพุทธเจ้า) ภิกษุในคำว่าภิกฺขุ ในคำว่า ภิกฺขุสฺส เป็นผู้รับของคือจีวร ส่วนพระพุทธเจ้าในคำว่า พุทฺธสฺส เป็นผู้รับกิริยาสรรเสริญ จึงประกอบด้วยวัตถุกิริยาปฏิคคาหกสัตติ
๕. อปาทานการก การกคือแดนหลีกออก ประกอบด้วยกิริยาอปคมนสัตติ คือ ความสามารถในการหลีกออกจากกิริยา เช่น คามา อเปนฺติ มุนโย (มุนีทั้งหลาย ย่อมหลีกออกจากหมู่บ้าน) หมู่บ้านในคำว่า คามา เป็นแดนหลีกออกจากกิริยาของบทกัตตาคือมุนี จึงประกอบด้วยกิริยาอปคมนสัตติ.
๖. โอกาสการก การกคือที่ตั้ง ประกอบด้วยกิริยาปติฏฐาปนสัตติ คือ ความสามารถในการดำรงกิริยาไว้ เช่น ภูมีสุ มนุสฺสา จรนฺติ (มนุษย์เที่ยวไปบนพื้นดิน) พื้นดินในคำว่า ภูมีสุ เป็นที่ของกิริยาเที่ยวไป จึงประกอบด้วยกิริยาปติฏฐาปนสัตติ.
--------------------------------------------------------------------
1ปทรูปสิทธิมัญชรี เล่ม ๑ บทนำเรื่อง การกกัณฑ์
๑. กัตตุการก การกคือผู้ทำ ประกอบด้วยกิริยานิปผาทนสัตติ คือ ความสามารถในการทำกิริยาให้สำเร็จ เช่น ปุริโส มคฺคํ คจฺฉติ (บุรุษ ไป สู่หนทาง)
--------------------------------------------------------------------
1ปทรูปสิทธิมัญชรี เล่ม ๑ บทนำเรื่อง การกกัณฑ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น