21/2/58

การใช้จตุตถีวิภัตติ 2

ในสูตรนี้แบ่งสัมปทานเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ตามข้อความของสูตร คือ
๑. ข้อความว่า ยสฺส ทาตุกาโม ได้แก่ สัมปทานที่เป็นผู้รับกิริยาหรือวัตถุ ที่เขาให้ด้วยดี.
สัมปทานชนิดนี้มี ๓ อย่าง คือ
๑. อนิรากรณสัมปทาน สัมปทานไม่ห้าม เช่น
พุทฺธสฺส ปุปฺผํ ยชติ
ยชติ ย่อมถวาย ปุปฺผํ ซึ่งดอกไม้ พุทฺธสฺส แก่พระพุทธเจ้า
โพธิรุกฺขสฺส ชลํ ททาติ
ททาติ ย่อมให้ ชลํ ซึ่งน้ำ โพธิรุกฺขสฺส แก่ต้นโพธิ์
คำว่า พุทฺโธ ในที่นี้ ได้แก่ พระพุทธรูป พระพุทธรูปนั้น ไม่มีการห้ามดอกไม้ ที่คนนำไปบูชา. ต้นไม้ไม่มีการห้ามน้ำที่คนน้ำไปรด เพราะฉะนั้น พุทฺธสฺส และ โพธิรุกฺขสฺส จึงชื่อว่า อนิรากรณสัมปทาน
๒. อาราธนสัมปทาน สัมปทานเชื้อเชิญ. เช่น
ยาจกานํ ธนํ ททาติ
ททาติ ย่อมให้ ธนํ ซึ่งทรัพย์ ยาจกานํ แก่ยาจก.
ยาจกเป็นผู้ขอทรัพย์ ในวลาที่ขอมีการกระตุ้นเตือนคนอื่นให้ให้ทาน ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ร้องขอด้วยอาการที่น่าสงสาร เล่นดนตรี หรือร้องเพลงเป็นต้น เพราะฉะนั้น ยาจก จึงชื่อว่า อาราธนสัมปทาน (บุคคลที่ประกาศเชิญชวนให้บริจาคทาน ก็สงเคราะห์เข้าในข้อนี้)
๓. อัพภนุญญสัมปทาน สัมปทานอนุญาต.  เช่น
ภิกฺขูนํ ทานํ เทติ
เทติ ย่อมถวาย ทานํ ซึ่งทาน ภิกฺขูนํ แก่ภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลายออกขอไม่ได้เพราะผิดวินัย และไม่มีการกระตุ้นเตือนเหมือนยาจก, คนทั้งหลาย ถวายแก่ภิกษุด้วยศรัทธา ภิกษุก็รับไทยทานนันด้วยความพอใจ เพราะฉะนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า อนุมติสัมปทาน เพราะเป็นการให้ที่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้รับก่อน กล่าวคือ ผู้ให้ต้องยินดีพอใจที่จะให้ด้วยศรัทธา.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น