วิธีการประกอบสนธิแต่ละประเภท
๑. สรสนธิ
สรสนธิ คือ
การเชื่อมเสียงระหว่างสระท้ายของศัพท์หน้ากับสระต้นของศัพท์หลัง. กล่าวอีกนัยหนึ่ง
เป็นการต่อสระเข้ากับสระ.
ในแบบเรียนไวยากรณ์
ท่านสรุปว่า ในสรสนธินี้มีวิธีการเข้าสนธิอยู่ ๗ วิธี เว้นสัญโยค อย่างเดียว.
ในสัททนีติ
สรุปว่า “บทที่ถูกเชื่อมระหว่างสระกับสระ
หรือบทที่ถูกเชื่อมในเพราะสระ ชื่อว่า สรสนธิ. ก็ในคำว่า สรสนธิ นี้ มีคำอธิบายว่า
บทที่ถูกเชื่อมอันบัณฑิตให้สำเร็จได้ด้วยอำนาจแห่งวิธีแปลงและลบสระ ชื่อว่า สรสนธิ”.
สัทท. แปล 37
ในคัมภีร์ต่างๆ
มิได้จัดระเบียบแห่งสนธิกิริโยปกรณ์ตามนัยที่มีในแบบเรียนฯ เช่น
สรสนธิในคัมภีร์ต่างๆ เล็งเอาสระเป็นเหตุให้มีการสนธิ จึงเรียกว่า
สรสนธิและท่านก็แสดงไปตามเหตุนั้น เช่น มีสระหน้าหรือหลังเป็นเหตุจึงทำการสนธิด้วยวิธีลบ
อาเทศ (แปลง) เป็นต้น ไม่จำกัดแต่เป็นเพียงสระเท่านั้น
แม้พยัญชนะก็มีการเปลี่ยนแปลงได้ถ้ามีสระอยู่หน้าหรือหลัง. แต่ในแบบเรียน ท่านเห็นว่า สรสนธิ
เป็นการสนธิกันระหว่างสระและสระเท่านั้น. ถ้ามีพยัญชนะมาร่วมด้วย ท่านจัดไว้ในพยัญชนสนธิ.
ดังนั้น จึงเป็นการจัดไว้โดยแนวทางที่แตกต่างกัน. การแสดงสรสนธิและเนื้อหาสาระอื่นในบทความชุดนี้
ผู้เรียบเรียงจะแสดงตามประเภทและลำดับที่จัดไว้ในหนังสือแบบเรียนบาลีไวยากรณ์หลักสูตรเปรียญธรรม
โดยอาศัยแนวทางการทำตัวรูปหรือเหตุผลพร้อมทั้งหลักการที่มีอยู่ในคัมภีร์ปทรูปสิทธิ[๑]เป็นหลัก.
๑.
โลปสรสนธิ การลบ ในคัมภีร์ปทรูปสิทธิแสดงวิธีและสูตรการลบไว้ (แต่ในที่นี้
จะแสดงเฉพาะที่มาในคัมภีร์กัจจายนะและปทรูปสิทธิ ส่วนในสัททนีติและโมคคัลลานะนั้น
หากมีประเด็นใด ๆ ที่น่าสนใจ จะนำมาแสดงเพิ่มเติมไว้) ดังนี้ คือ
๑)
ลบสระหน้า เพราะสระหลัง ด้วยสูตรว่า
สรา สเร
โลปํ. (กัจจ 12)
ในเพราะสระหลัง
สระหน้าทั้งหลาย ย่อมถึงการลบไป.
อธิบาย.
ใน
คัมภีร์ปทรูปสิทธิ อธิบายว่า การลบ ได้แก่ การมองไม่เห็น การออกเสียงไม่ได้
ชื่อว่า การลบไป. สูตรนี้ จึงบอกให้ทราบว่า สระหลัง ได้แก่
สระที่ตั้งอยู่ในเบื้องหลัง คือ สระตัวแรกของบทหลัง จะเป็นเหตุให้สระที่ตั้งอยู่หน้า
คือ สระเสียงท้ายของบทที่ตั้งอยู่ข้างถูกลบไป.
อนึ่ง
การแยกพยัญชนะออกจากสระนี้ ให้แยกเฉพาะที่อักษรจะเชื่อมต่อกันเท่านั้น
และพยัญชนะต้องวางอยู่หน้าสระเสมอ เพราะพยัญชนะทั้ง ๓๒ ตัว เขียนแบบ ปราสยพยัญชนะ
(อาศัยสระเสียงหลัง) ยกเว้นนิคคหิตตัวเดียวเท่านั้น ที่เขียนแบบปุพพาสยพยัญชนะ
(อาศัยสระเสียงหน้า).
กฏการทำสระสนธิจะอาศัยการลบสระเป็นส่วนมาก ทั้งลบสระหน้าและสระหลัง. ลบแล้วจึงนำเข้าสนธิหรือให้ทำทีฆะ รัสสะ แปลง
เป็นต้นต่อไป.
ตัวอย่างวิธีการสำเร็จรูป.
ยสฺสินฺทฺริยานิ
สำเร็จรูปโดยแยกบทและเชื่อม (สนธิ) เข้ากันดังต่อไปนี้
๑.
ยสฺสินทฺริยานิ ตัดบทเป็น = ยสฺส
+ อินฺทฺริยานิ
๒.
แยกพยัญชนะออกจากสระ = ยสฺสฺ อ + อินฺทฺริยานิ ด้วยสูตรว่า
ปุพฺพมโธ ฅิตมสฺสรํ สเรน วิโยชเย
๓.
ลบสระหน้าเพราะสระหลัง =
ยสฺสฺ
+ อินฺทฺริยานิ ด้วยสูตรว่า สรา
สเร โลปํ
๔.
นำพยัญชนะรวมกับสระหลัง = ยสฺสินฺทฺริยานิด้วยสูตรว่า นเย ปรํ
ยุตฺเต
หมายเหตุ
ขั้นตอนที่
๑ เป็นการแยกตัวให้เห็นสระหน้า (ปุพพะ) และสระหลัง (ประ)
ตามนัยของคัมภีร์สัททนีติ.
ขั้นตอนที่
๒ – ๔
เป็นวิธีการที่ทั่วไปในคัมภีร์ต่าง ๆ ซึ่งนักศึกษาต้องกำหนดขั้นตอนที่ ๑,
๒และ ๔ ให้ได้
เพราะเป็นพื้นฐานในการทำสนธิ ดังกล่าวแล้ว .
ส่วนที่ ๓ จัดเป็นข้อที่แตกต่างกันระหว่างการทำสนธิแต่ละอย่าง. ดังนั้น
ต่อไปนี้จะแสดงเฉพาะที่เป็นขั้นตอนที่ ๓ เท่านั้น.
ศัพท์เหล่านี้ เป็น
โลปสระสนธิ โดยการลบสระหน้า
โลก
+ อคฺคปุคฺคโล =
โลกคฺคปุคฺคโล
|
สตฺต
+ อุตฺตโม = สตฺตุตฺตโม
|
ปญฺญา
+ อินฺทฺริยํ = ปญฺญินฺทฺริยํ
|
มาตุ
+ อุปฏฺฐานํ =
มาตุปฏฺฐานํ
|
สทฺธา
+ อินฺทฺริยํ = สทฺธินฺทฺริยํ
|
อภิภู
+ อายตนํ = อภิภายตนํ
|
ตีณิ
+ อิมานิ = ตีณิมานิ
|
เม
+ อตฺถิ = มตฺถิ
|
โน หิ + เอตํ = โน
เหตํ
|
สพฺเพ
+ เอว = สพฺเพว
|
ภิกฺขุนี + โอวาโท
= ภิกฺขุโนวาโท
|
ตโย
+ อสฺสุ =
ตยสฺสุ
|
[๑]
คัมภีร์ปทรูปสิทธิ
เป็นคัมภีร์ไวยากรณ์ที่อธิบายคัมภีร์กัจจายนไวยากรณ์
โดยนำเสนอสูตรไปตามลำดับบทที่ต้องการ โดยไม่เรียงตามลำดับในคัมภีร์กัจจายนะนั้น
ซึ่งสะดวกแก่การกำหนดลำดับและจัดกลุ่มบทเป็นกลุ่มๆ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น