พยัญชนะสังโยค
๒๔. พยัญชนะสังโยค หมายถึง
พยัญชนะที่มีเสียงควบคู่โดยไม่มีเสียงสระแทรกกลาง
เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของอักษรในภาษาบาลี.
พยัญชนะสังโยคนั้นมี ๒ ลักษณะ คือ
๑. ตัวสะกด
๒.ตัวควบกล้ำ
๑. ตัวสะกด หมายถึง
พยัญชนะสองตัวที่อยู่คู่กันโดยมีตัวหน้าเป็นตัวสะกดสระที่อยู่ข้างต้นอีกที. ส่วนตัวหลังเป็นตัวที่ติดตามคู่ไปกับตัวสะกดนั้นโดยที่ไม่มีเสียงสระแทรกกลาง
บางครั้งท่านก็เรียกว่า ตัวซ้อน เช่น
สกฺโก เป็นต้น
๒. ตัวควบกล้ำ หมายถึง
พยัญชนะสองหรือสามตัวที่ไม่มีเสียงแทรกระหว่างกลาง ซึ่งพยัญชนะเหล่านั้น
จะออกเสียงควบหรือกล้ำหรือผสมกัน ส่วนสระที่เป็นที่อาศัยให้พยัญชนะออกเสียงนั้น
จะมีอยู่ตรงตำแหน่งหลังของพยัญชนะตัวที่สองหรือสามของตัวควบกล้ำนั้น เช่น กตฺวา อินฺทฺริยํ
เป็นต้น.
หลักการเขียนพยัญชนะสังโยค
พยัญชนวรรค
มีวิธีการดังนี้
๑. พยัญชนะที่ ๑
ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑ และที่ ๒ ในวรรคของตนเองได้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด คือ
- พยัญชนะที่ ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑
ดังนี้คือ
ก ซ้อน
ก เช่น สกฺโก จ
ซ้อน จ เช่น
อจฺจิ ฏ ซ้อน
ฎ เช่น วฏฺฏํ
ต ซ้อน
ต เช่น อตฺตา ป ซ้อน ป
เช่น สปฺโป
-
พยัญชนะที่ ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๒
นั้น ดังนี้ คือ
ก ซ้อน
ข เช่น อกฺขรํ จ ซ้อน
ฉ เช่น อจฺฉรา ฏ ซ้อน
ฐ เช่น ฉฏฺฐี
ต ซ้อน
ถ เช่น วตฺถํ ป
ซ้อน ผ เช่น
ปุปฺผํ
๒.
พยัญชนะที่ ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓
และที่ ๔ ในวรรคของตนได้
-
พยัญชนะที่ ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓ นั้น ดังนี้
ค ซ้อน
ค เช่น อคฺคิ ช
ซ้อน ช เช่น อชฺช ฑ ซ้อน
ฑ เช่น ฉุฑฺโฑ
ท ซ้อน
ท เช่น สทฺโท พ
ซ้อน พ เช่น สพฺพํ
- พยัญชนะที่ ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๔
ดังนี้
ค
ซ้อน ฆ
เช่น อคฺโฆ ช
ซ้อน ฌ เช่น อชฺฌาสโย ฑ ซ้อน
ฒ เช่น วุฑฺฒิ
พ ซ้อน
ภ เช่น อพฺภานํ
๓. พยัญชนะที่ ๕ คือ ตัวที่สุดวรรค เว้น ตัว ง เสีย
ซ้อนหน้าพยัญชนะในวรรคของตนได้ทั้ง ๕ ตัว,
ส่วนตัว ง ซ้อนหน้าพยัญชนะในวรรคของตนได้ ๔ ตัว ซ้อนหน้าตัวเองไม่ได้
เพราะในภาษาบาลีไม่มีที่ใช้.
- พยัญชนะที่สุดวรรค
ซ้อนหน้าพยัญชนะในวรรคของตนเองได้ดังนี้
ง
ซ้อน ก เช่น สุงฺโก ง
ซ้อน ข เช่น
สงฺโข
ง
ซ้อน ค เช่น องฺคํ ง
ซ้อน ฆ เช่น
สงฺโฆ
ซ้อน จ เช่น
ปญฺจ ญ ซ้อน
ฉ เช่น สญฺฉนฺนํ
ซ้อน
ช เช่น กุญฺชโร ซ้อน ฌ เช่น วญฺฌา
ซ้อน เช่น
ปญฺญา
ณ
ซ้อน ฏ เช่น กณฺฏโก ณ
ซ้อน
เช่น กณฺโ
ณ
ซ้อน ฑ เช่น ปณฺฑิต ณ ซ้อน
ฒ เช่น สุณฺฒิ
ณ ซ้อน
ณ เช่น กณฺโณ
น
ซ้อน ต เช่น สนฺติ น ซ้อน
ถ เช่น ปนฺโถ
น
ซ้อน ท เช่น
จนฺโท น ซ้อน
ธ เช่น สนฺธิ
น
ซ้อน น เช่น
สนฺโน
ม
ซ้อน ป เช่น
อนุกมฺปโก ม ซ้อน
ผ เช่น สมฺผสฺโส
ม
ซ้อน พ เช่น
อมฺโพ ม ซ้อน
ภ เช่น ถมฺโภ
ม
ซ้อน ม เช่น อมฺมา
สรุปเป็นคำพูดสั้นๆ ได้ว่า “หนึ่งซ้อนหนึ่ง
ซ้อนสอง, สามซ้อนสาม ซ้อนสี่,
ห้าซ้อนได้ทุกตัวในวรรค ยกเว้น ง ไม่ซ้อนตัวเอง”.
พยัญชนะอวรรคมีวิธีการดังต่อไปนี้ คือ
๑.
ย ล ส ๓ ตัวนี้
ซ้อนหน้าตัวได้ เช่น เสยฺโย สลฺลํ อสฺโส เป็นต้น ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด
๒.
ย ร ล ว
ห ๕ ตัวนี้ ถ้าอยู่หลังพยัญชนะตัวอื่น มีหน้าที่เป็นตัวกล้ำ
โดยออกเสียงผสมกับพยัญชนะตัวอื่นมีกฏเกณฑ์ ดังนี้ คือ
๑). ย กล้ำ กับพยัญชนะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓
ที่ ๔ และที่ ๕ ได้ คือ
- กล้ำกับพยัญชนะที่ ๑ เป็น กฺย เช่น สกฺย,
-
กล้ำกับพยัญชนะที่ ๒ เป็น ขฺย เช่น อาขฺยาต,
-
กล้ำกับพยัญชนะที่ ๓ เป็น คฺย เช่น
อาโรคฺย
-
กล้ำกับพยัญชนะที่ ๔ เป็น ธฺย เช่น
อธฺยตฺถ
-
กล้ำกับพยัญชนะที่ ๕ เป็น นฺย เช่น นฺยาส
๒). ร เป็นตัวกล้ำกับพยัญชนะที่
๑ และที่ ๓ ได้ คือ
-
กล้ำกับพยัญชนะที่ ๑ เป็น ตฺร เช่น ตตฺร
-
กล้ำกับพยัญชนะที่ ๓ เป็น พฺร เช่น พฺรูติ
๓). ล เป็นตัวกล้ำกับพยัญชนะที่ ๑
ได้ คือ กฺล เช่น เกฺลส, ปฺล เช่น ปฺลว
๔). ว เป็นตัวกล้ำกับพยัญชนะที่ ๑ ที่ ๒
ที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๕ ได้ คือ
-
กล้ำกับพยัญชนะที่ ๑ เป็น กฺว
เช่น กฺวจิ
-
กล้ำกับพยัญชนะที่ ๒ เป็น ขฺว
เช่น ขฺวาหํ
-
กล้ำกับพยัญชนะที่ ๓ เป็น ทฺว เช่น
เทฺว
-
กล้ำกับพยัญชนะที่ ๔ เป็น ธฺว เช่น สาธฺวลงฺกติ
-
กล้ำกับพยัญชนะที่ ๕ เป็น นฺว เช่น อเนฺวติ
๕).
ห เป็นตัวกล้ำกับพยัญชนะที่ ๕ ได้ เป็น ญฺห เช่น ปญฺหา เป็นต้น
๓. ในกรณีที่พยัญชนะวรรคเป็นตัวหลัง
จะมีพยัญชนะอวรรค ๒ ตัวเท่านั้นที่เป็นตัวกล้ำได้
คือ ส หรือ ห ดังนี้คือ
- ส เป็นตัวหน้ากล้ำกับ ต ตัวหลัง เป็น สฺต เช่น วิทฺธสฺต
- ห เป็นตัวหน้ากล้ำกับ ม ตัวหลัง เป็น หฺม เช่น พฺรหฺม
๔.
ระหว่างพยัญชนะอวรรคด้วยกัน มีเกณฑ์การนำและตามได้ดังนี้
ย นำ ห ตามได้ เป็น ยฺห เช่น ปสยฺห, คยฺหติ
ล นำ ย ตามได้ เป็น
ลฺย เช่น กลฺยาณ
ล นำ ห ตามได้ เป็น ลฺห เช่น
วุลฺหติ
ว นำ ห ตามได้ เป็น วฺห เช่น ชิวฺหา
ส นำ ย ตามได้ เป็น สฺย เช่น อาลสฺย
ส นำ ว ตามได้ เป็น สฺว เช่น
สฺวากฺขาต
ห
นำ ว
ตามได้ เป็น หฺว ชุหฺวติ
ฬ
นำ ห ตามได้ เป็น อารุฬฺหติ
๕.
ในกรณีที่มีทั้งตัวสะกดและตัวกล้ำรวมอยู่ด้วยกันถึง
๓ ตัว ที่เรียกว่า ตัวควบกล้ำ พยัญชนะสองตัวแรกมักเป็นพยัญชนะวรรค
ส่วนตัวท้ายจะเป็นพยัญชนะอวรรคตัวใดตัวหนึ่ง ในสามตัวนี้ คือ ย ร ว ดังนี้
คือ
ย อยู่ท้าย เป็น งฺขฺย เช่น สงฺขฺยา ทฺธฺย เช่น พุทฺธฺยตฺถ
ร อยู่ท้าย เป็น นฺทฺร เช่น อินฺทฺริย
ว อยู่ท้ายเป็น กฺขฺว
เช่น จกฺขฺวาปาถ, นฺตฺว เช่น คนฺตฺวา
มีพิเศษบางคำที่ตัวแรกสุดเป็น ส ตัวที่สองเป็น
ต และตัวสุดท้ายเป็น ร คือ สฺตฺร เช่น ภสฺตฺรา
v
เยี่ยมครับ อ่านซะยาวเลยผม .. สรุปก็คือ ตัวที่หนึง ซ้อนหน้าตัวที่หนึ่งและสองในวรรคของตนได้ ตัวที่ห้าสุดวรรค ซ้อนหน้าในวรรคของตนได้ทั้งหมด
ตอบลบยกว้น ตัว ง จะซื้อนหน้าต้วเองไม่ได้ .. เนาะ
มีตัวอย่างหลายๆคำในแต่ละวรรคไม
ตอบลบมีตัวอย่างหลายๆคำในแต่ละวรรคไม
ตอบลบฑ ซ้อน ฑ นอกจาก ฉุฑโฑ แล้วมีอะไรอีกขออีกคำหนึ่ง
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบญา ธาตุ เมื่อ ลงปัจจัย ณวุ (กิตปัจจัย) กลายเป็น ชานนโก อธิบาย ดังนี้
ตอบลบญา ธาตุ เป็น ธาตุหมวด ๕ คือ หมวด กี (นาปัจจัยใน กตฺตุวาจก) แปลง เป็น ชานา +ณวุ
ซ้อน น เป็น นน ณวุ เป็น อก รวมเป็น ชานนโก