14/10/56

๑๐ การเขียนสระและพยัญชนะ

การเขียนสระและพยัญชนะในภาษาบาลี
           
            ๒๓.   ภาษาบาลี ไม่มีรูปอักษรเป็นของตัวเอง ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ เพราะอาศัยภาษาของกลุ่มชนที่รับเอาภาษาบาลีนี้ไปใช้ ดังนั้น จึงอนุโลมโดยใช้ภาษาของชนกลุ่มนั้น ๆ ดังนั้น ในที่นี้จึงใช้หลักเกณฑ์และเครื่องหมายในภาษาไทยมาเขียนด้วย.
วิธีเขียนแทนเสียงสระ
            การเขียนสระ มีวิธีเขียนโดยใช้เครื่องหมาย แบ่งออกเป็น ๒ รูปแบบ ดังนี้คือ
๑.    แบบรูปสระลอย 
๒.  แบบรูปสระจม
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
๑.แบบรูปสระลอย เป็นการเขียนสระที่ไม่ต้องผสมกับพยัญชนะ คือ แบบที่ไม่มีพยัญชนะอาศัยสระนั้นอยู่ จะใช้ตัว อ ประกอบกับเครื่องหมายที่ใช้เขียนแทนเสียงสระนั้น ๆ ยกเว้นเสียง อ เพียงเสียงเดียวที่จะใช้เพียงแต่ตัว อ เขียน โดยไม่มีรูปวิสรรชนีย์ประกอบอยู่ด้วย  ดังนี้ คือ
 อ  อา  อิ   อี   อุ   อู  เอ โอ
๒.  แบบรูปสระจม  คือ แบบที่มีพยัญชนะอาศัยสระตัวนั้นอยู่ จะต้องเอาตัว  อ ที่   ประกอบกับเครื่องหมายที่ใช้เขียนแทนเสียงสระนั้น ๆ ออก เหลือไว้เพียงรูปเครื่องหมายที่เรียกว่า ลากข้าง เป็นต้น ดังนั้น ในรูปสระจมของเสียง อ (อะ) จึงไม่มีเครื่องหมายอะไร ๆ ให้มองเห็น เพราะ อ จมหายเข้าไปในพยัญชนะ เช่น กฺ + อุ = กุ ดังนี้ คือ
-     -า      -      -      -     -      เ-      โ-
        การที่จะรู้ว่า มีเสียง อ ที่ใช้ในรูปสระจมนั้น จะกล่าวต่อไปข้างหน้า.
            วิธีเขียนแทนเสียงพยัญชนะ
            การใช้เครื่องหมายแทนตัวหรือเสียงพยัญชนะนั้น มีรูปแบบดังนี้
๑.    แทนเสียงพยัญชนะที่มีสระประกอบท้าย
๒.  แทนเสียงพยัญชนะที่ไม่มีสระประกอบท้าย
๓.   แทนเสียงพยัญชนะตัวสุดท้าย (นิคคหิต)
มีรายละเอียดดังนี้
๑.  แทนพยัญชนะที่มีสระประกอบท้าย 
การเขียนตัวหนังสือแทนเสียงพยัญชนะแบบนี้ เพียงแต่เขียนตัวพยัญชนะตัวนั้น ๆ เพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องเติมเครื่องหมายจุดบอด (.) ไว้ใต้พยัญชนะตัวนั้น ๆ และการเขียนตัว หรือตัว นั้น จะไม่ใส่เชิงไว้ข้างใต้.
            ๒.  แทนพยัญชนะที่ไม่มีสระประกอบท้าย
การเขียนในแบบนี้ จะใส่จุดบอด (.)ไว้ใต้พยัญชนะตัวนั้น ๆ เพื่อให้ร้ว่า ไม่มีเสียงสระใด ๆ อยู่ถัดจากพยัญชนะตัวนั้น ๆ.
            ๓. แทนพยัญชนะตัวสุดท้าย (นิคคหิต)
 การใช้เครื่องหมายแทนเสียงนิคคหิตนั้น จะใช้เครื่องหมาย (-  ) หรือที่เรียกว่า หยาดน้ำค้าง เป็นตัวแทน และเครื่องหมายนี้จะมีได้ ก็ต่อเมื่ออยู่ต่อจากสระเสียงสั้น
คือ อ  อิ  อุ เท่านั้น ทั้งที่เป็นรูปสระลอยหรือจม.
            วิธีเขียนพยัญชนะที่ประกอบกับสระ
            เนื่องจากที่ว่า พยัญชนะออกเสียงตามลำพังตนเองไม่ได้ ส่วนสระออกเสียงได้ตามลำพัง ดังนั้น การเขียนรูปสระจึงมีสองแบบตามที่กล่าวมาแล้ว คือ แบบสระลอย (ไม่มีพยัญชนะอาศัย) แบบสระจม (มีพยัญชนะอาศัย)  ส่วนการอาศัยของพยัญชนะนั้น ก็มีอยู่ ๒ แบบด้วยกัน คือ
๑.    แบบที่อาศัยสระเสียงหลัง (ปราสยพยัญชนะ)
๒.  แบบที่อาศัยสระเสียงหน้า (ปุพพาสยพยัญชนะ)
การเขียนพยัญชนะที่อาศัยสระต่างกันนั้น มีวิธีการดังนี้
            ๑. แบบที่อาศัยสระเสียงหลัง (ปราสยพยัญชนะ) 
            พยัญชนะที่อาศัยสระเสียงหลังมี ๓๒ ตัว คือ ตั้งแต่ ก ไปจนถึง ฬ โดยเว้นตัวสุดท้ายเสีย  คือ นิคคหิต การเขียนพยัญชนะร่วมกับสระในแบบนี้ จะใช้รูปสระจมเสมอ ตัวอย่างเช่น     กฺ + อ เป็น ก,     กฺ + อา เป็น กา,  กฺ + อิ เป็น กิ,    กฺ + อี เป็น กี
                        กฺ + อุ เป็น กุ,     กฺ + อู เป็น  กู,    กฺ + เอ เป็น เก,    กฺ + โอ เป็น โอ        
            สำหรับการวางตำแหน่งของตัวหนังสือนั้น ก็เหมือนกับที่ใช้ในการเขียนภาษาไทย และตัวพยัญชนะที่ไม่มีรูปสระจม อื่นใดประกอบอยู่ กับทั้งไม่มีจุดบอด ( . ) อยู่ข้างใต้ พึงทราบว่า พยัญชนะตัวนั้น มีเสียงของสระอ  (อะ) ประกอบอยู่ ดังเช่น ก นั้น. 
๒.  แบบที่อาศัยสระเสียงหน้า (ปุพพาสยพยัญชนะ) 
พยัญชนะที่อาศัยสระเสียงหน้ามีเพียงหน่วยเดียว คือ นิคคหิต อันเป็นพยัญชนะตัวสุดท้าย โดยจะเขียนไว้เหนือตัวหนังสือที่มันเข้าไปเกี่ยวข้อง การเขียนร่วมกับสระก็ใช้ได้กับสระทั้ง ๒ แบบ คือ ทั้งแบบสระลอย และแบบสระจม ดังนี้ คือ
แบบสระลอย เขียนว่า  อ + เป็น อํ,   อิ + เป็น อึ,  อุ + เป็น อุ      
แบบสระจม เขียนว่า กฺ + อ + เป็น กํ,    กฺ + อิ + กึ,    กฺ + อุ + เป็น กุ 

 v

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น