29/3/57

๒๑ สรสนธิ : รัสสะ

๔. รัสสะ สระสนธิ ได้แก่ การเข้าสนธิโดยการทำให้สระเสียงยาวเป็นสระเสียงสั้น มีหลักการดังต่อไปนี้
         ในแบบเรียนบาลีไวยากรณ์ ท่านแสดงไว้ว่า
          ๒๕) รสฺสํ นั้น ดังนี้ ถ้าพยัญชนะก็ดี เอ แห่ง เอว ศัพท์ ก็ดี อยู่เบื้องหลัง รัสสะ สระข้างหน้าให้มีเสียงสั้นได้บ้าง อุ. ว่า โภวาที นาม เป็น โภวาทินาม,  ยถา เอว เป็น
ยถริว.
         ในกัจจายนะและสัททนีติกล่าวถึงรัสสสระสนธิไว้ในสระสนธิ เพียงแต่ว่า
         ๑) กัจจ. 22 รูป. 28 เอวาทิสฺส ริ ปุพฺโพ จ รสฺโส
                  มีการอาเทศเป็น ริ แห่ง เอ อันเป็นเบื้องต้นของ เอว ศัพท์ อันเป็น            เบื้องหลังจาก สระ ได้บ้าง.
            สัทท. 52 เอวสฺเสสฺส ริ ปุพฺโพ จ รสฺโส
                        อาเทศ เอ ของ เอวศัพท์ หลังจากสระ เป็น ริ และรัสสสระหน้าได้บ้าง.
ท่านได้ยกอุทาหรณ์เดียวกับในแบบเรียนฯ ว่า ยถา เอว เป็น ยถริว, ตถา เอว เป็น ตถริว.
            (รายละเอียดของสูตรนี้ จะไปกล่าวในอาเทสสนธิ)
         ๒) ส่วนการรัสสะ สระหน้าในเพราะพยัญชนะหลัง ท่านได้แสดงไว้ในพยัญชนสนธิ. ในปกรณ์ทั้ง ๒นั้นมีสูตรว่า
         (กัจจ. 26 รูป. 38, สัทท. 65) รสฺสํ
            รัสสะ สระหน้า เพราะพยัญชนะหลังบ้าง
         โดยยกอุทาหรณ์เช่นเดียวกันกับในแบบเรียน ฯ นั้นว่า โภวาที เป็น โภวาทิ ยถาภาวี เป็น ยถาภาวิ. รายละเอียดในเรื่องนี้จะกล่าวในพยัญชนสนธิ.

         

1 ความคิดเห็น:

  1. อทินฺนปุพฺพโกเตฺวว ตัดเป็น อทินฺนปุพฺพโก + อิติ + เอว เป็นสนธิอะไร บ้าง (ขอให้ตอบโดยอ้างสูตร เพื่อเป็นแบบแผนด้วย)

    ตอบลบ