๒)
ทีฆะสระหน้า ทั้งในกัจจายนะและปทรูปสิทธิ แสดงสูตรไว้ว่า
ปุพฺโพ จ กัจจ. 16 รูป. 18
เมื่อลบสระหลังแล้ว
ในบางอุทาหรณ์ สระหน้าเป็นทีฆะ ได้อีกด้วย.
อธิบาย สูตรนี้ ให้ทำทีฆะสระหน้า
เมื่อได้ลบสระหลังแล้ว. ถึงแม้ในตัวสูตรจะไม่ได้บอกว่า ต้องลบสระหน้า
แต่เราก็ทราบได้ว่า ต้องลบสระหน้าไป ด้วย จ ศัพท์ ที่มีความหมายว่า ดึงมา
ซึ่งในสูตรนี้ดึงเอาคำว่า ลบสระหน้าและทีฆะ มาจากสูตรก่อน ๆ
มาอีก.
ก็ด้วย
จ ศัพท์ นั้นทำให้การลบและทีฆะในสรสนธิหมดลงแค่นี้ ไม่ตามไปในสูตรต่อไปอีก. (ในสัททนีติไม่ได้แสดงสูตรเกี่ยวกับการทีฆะสระหน้าไว้)
อุทาหรณ์.
โลกสฺส
+ อิติ เป็น โลกสฺสาติ
|
เทว
+ อิติ เป็น เทวาติ
|
วิ
+ อติ + ปตนฺติ เป็น วีติปตนฺติ
|
ชีวิตเหตุ
+ อปิ เป็น ชีวิตเหตูปิ
|
วิ
+ อติ+นาเมนฺติ เป็น วีตินาเมนฺติ
|
สํฆาฏิ
+ อปิ เป็น สํฆาฏีปิ
|
วิชฺชุ
+ อิว เป็น วิชฺชูว
|
กึ
+ สุ + อิธ + วิตฺตํ เป็น กึสูธ วิตฺตํ
|
สาธุ
+ อิติ เป็น สาธูติ
|
|
แม้ในแบบเรียน
ฯ ก็แสดงทีฆะไว้โดยเช่นนี้เหมือนกันแล.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น