๒)
อาเทสสระเบื้องหลัง ในแบบเรียน ฯ ท่านแสดงไว้ว่า “ถ้ามีสระอยู่ข้างหน้า
แปลง เอ ตัวหน้าแห่ง เอว ศัพท์อันตั้งอยู่เบื้องปลายเป็น ริ ได้บ้าง
แล้วรัสสะสระเบื้องหน้าให้สั้น เช่น ยถา เอว เป็น ยถริว, ตถา เอว เป็น ตถริว.
ในกัจจายนะและปทรูปสิทธิแสดงไว้ว่า
กัจจ. ๒๒ รูป. 28 เอวาทิสฺส
ริ ปุพฺโพ จ รสฺโส
มีการอาเทศเป็น ริ แห่ง เอ
อันเป็นเบื้องต้นของ เอว ศัพท์ อันเป็นเบื้องหลัง จากสระ ได้ด้วย จ ศัพท์, และ
สระหน้าเป็นรัสสะ ได้บ้าง.
สัทท. 52 เอวสฺเสสฺส
ริ ปุพฺโพ
แปลงเอ ของ เอว ศัพท์หลังจากสระ
เป็นริ และรัสสะ สระหน้าได้บ้าง
อธิบาย.
สูตรนี้ เป็นสูตรถือเอา เอ อักษร อันเป็นเบื้องหลังจาก ยถา และ ตถา ศัพท์. มีการอาเทศ เป็น ริ แห่ง เอ
อักษรอันเป็นเบื้องต้นของเอว ศัพท์ อันเบื้องหลัง
จากทีฆะสระ.และสระหน้าเป็นรัสสะสระ ได้บ้างในบางอุทาหรณ์.
คือ สูตรนี้ใช้เฉพาะ สระ เอ
ที่เป็นบทที่มีต่อจาก ยถาและตถา ศัพท์เท่านั้น. ต่อจากนั้นท่านให้อาเทศ เอ เป็น ริ
แล้วรัสสะสระอา ที่ ยถา หรือ ตถา เป็น สระ อ.
ตัวอย่าง
เช่น ยถา เอว เป็น ยถริว (ฉันใด นั่นเทียว), ตถา เอว เป็น ตถริว
(ฉันนั้นนั่นเทียว)
ข้อยกเว้น
ด้วย นวา ศัพท์ ที่แปลว่า ได้บ้าง ในสูตรว่า อิวณฺโณ ยํ นวา
ซึ่งครอบคลุมถึงสูตรนี้ ยังเป็นการกำหนดว่า เมื่อมีการี (ตัวที่มีการทำ) คือ ยถา
เอว จะเป็นการิยะ (ตัวที่ถูกทำหรือสร้างขึ้นมา คือ ผลลัพท์) คือ ยถริว
เป็นต้นเสมอไป. ในพระบาลีบางที่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น ดังนั้น จึงปรากฏรูปว่า ยเถว
ตเถว ดังนี้ก็มี เป็น ยถา เอว ตถา เอว ดังนี้ ก็มี.
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า
ในแบบเรียนบาลีไวยากรณ์ ท่านจัดสรสนธิและพยัญชน-สนธิ ไว้ต่างกันกับในคัมภีร์ปทรูปสิทธิและสัททนีติอยู่บ้าง
สูตรต่อไปนี้ ในแบบเรียนท่านจัดเข้าไว้ในพยัญชนสนธิ เพราะมองว่า
เป็นการต่อพยัญชนะกับสระ. แต่ในคัมภีร์นั้น ๆ ท่านยังจัดอยู่ในสรสนธิ เพราะมองว่า
ยังมีสระอันอยู่เบื้องหลังเป็นนิมิตต์ (เหตุให้เกิด การสนธิโดยการลบเป็นต้น )
และไม่จัดอยู่ในพยัญชนสนธิ เพราะในพยัญชนสนธินั้น ท่านมองว่า มีพยัญชนะอันอยู่เบื้องหลังเป็นนิมิตต์นั่นเอง.
ดังนั้น ในที่นี้ จักแสดงไว้ตามที่อยู่ในคัมภีร์เหล่านั้น คือ
ยังคงอยู่ในหัวข้อแห่งสรสนธิ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น