21/2/58

การใช้จตุตถีวิภัตติ 1

๓. อรรถแห่งจตุตถีวิภัตติ
จตุตถีวิภัตติ ใช้ในอรรถต่างๆ ดังนี้
๑. สัมปทานะ         
๒ ในที่ประกอบกับสิลาฆธาตุเป็นต้น
๓ ในที่ประกอบกับนโมศัพท์
๔ ในนามศัพท์ที่เป็นภาวสาธนะและอนาคตกาล.

****–

๑. สัมปทานะ
ความหมายของสัมปทานะ ท่านแสดงไว้ด้วยสูตรนี้ คือ
๓๐๒. ยสฺส ทาตุกาโม โรจเต ธารยเต วา, ตํ สมฺปทานํ
ผู้ปรารถนาเพื่อให้ย่อมให้แก่การกะใด, หรือย่อมพอใจแก่การกะใด หรือย่อมทรงไว้แก่การกะใด การกะนั้น ชื่อว่า สัมปทานะ.
อธิบาย สูตรนี้เป็นสัญญาสูตรตั้งชื่อนามศัพท์ที่เป็นชื่อของปฏิคคาหก คือ ผู้รับว่า สมฺปทาน. คำว่า สมปทาน มาจาก สํ + ป + ทา ธาตุ ให้ + ยุปัจจัย ในสัมปทานสาธนะ มีรูปวิเคราะห์ว่า
สมฺมา ปทียเต อสฺสาติ สมฺปทานํ, ปฏิคฺคาหโก
วัตถุหรือกิริยา อันบุคคลย่อมให้ แก่การกะนั้น ด้วยดี เหตุนั้น การกะนั้น ชื่อว่า สัมปทานะ คือ ผู้รับ.
สํ อุปสัคในที่นี้กล่าวอรรถ สมฺมา (ด้วยดี) คำว่า การให้ด้วยดี จึงหมายถึง การให้ด้วยวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ  การให้เพื่อบูชา  การให้เพื่อยกย่อง การให้เพื่อสงเคราะห์. อย่างไรก็ตาม แม้การให้ที่ไม่ได้ให้ด้วยจุดประสงค์ดังกล่าว ก็ชื่อว่า การให้ในคำว่า สมฺมา ปทียเต นี้ได้[1]  ดังนั้น การกะที่เป็นผู้รับกิริยาหรือวัตถุ ที่ผู้ให้ให้ด้วยหวังจะบูชาเป็นต้น ชื่อว่า สัมปทานการกะ.





[1] สัททนีติปกรณ์ สุตตมาลาสูตร ๕๕๔ กล่าวว่า แม้จะเป็นการให้ด้วยความไม่เคารพก็จัดเป็นสัมปทาน ได้เช่นกัน.  ดูรายละเอียดในปทรูปสิทธิมัญชรี.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น