๕.
อาเทสสรสนธิ ได้แก่ การเข้าสนธิโดยการแปลงสระเป็นพยัญชนะ
ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อเป็นการลบสระหลังแล้วเท่านั้น
ทั้งนี้ให้นักศึกษาสังเกตด้วยว่า การเกิดการแปลงหรืออาเทสได้นั้น จะต้องมีการลบสระหลังเท่านั้น.
ในแบบเรียนไวยากรณ์ ฯ ท่านกล่าวว่า
“๒๐.
อาเทโส มี ๒ แปลงสระเบื้องหน้า๑ แปลงสระเบื้องหลัง ๑
แปลงสระเบื้องหน้าดังนี้
ถ้า อิ เอ หรือ โอ อยู่ข้างหน้า
มีสระอยู่เบื้องหลัง ให้
- แปลง อิ ตัวหน้า เป็น ย ถ้ามีพยัญชนะซ้อนกัน ๓ ตัว ลบพยัญชนะที่มีรูปเสมอกันเสียตัวหนึ่ง
อุ. ปฏิสณฺฐารวุตฺติ อสฺส เป็น ปฏิสณฺฐารวุตฺยสฺส, อคฺคิ อาคารํ เป็น
อคฺยาคารํ,
-
เอา เอ เป็น ย เช่นอุ. ว่า เต อสฺส เป็น ตฺยสฺส ได้ในคำว่า ตฺยสฺส ปหีนา โหนฺติ.
เม อยํ เป็น มฺยายํ ได้ในคำว่า อธิคโต โข มฺยายํ ธมฺโม, เต อหํ เป็น ตฺยาหํ
ได้ในคำว่า ตฺยาหํ เอวํ วเทยฺยํ,
- เอาโอ เป็น ว อุ.ว่า อถโข อสฺส เป็น
อถขฺวสฺส
- เอา อุ เป็น ว อุ. ว่า พหุ อาพาโธ เป็น พหฺวาพาโธ, จกฺขุ
อาปาถํ เป็น จกฺขฺวาปาถํ.
วิธีการเช่นนี้
พ้องด้วยมติในคัมภีร์กัจจายนะ สัททนีติ และโมคคัลลานไวยากรณ์ดังนี้ คือ
- แปลง อิ เป็น ย
ในกัจจายนะและปทรูปสิทธิ แสดงไว้ว่า
กัจจ. 21 รูป. 21 อิวณฺโณ
ยํ นวา
ในเพราะสระ อันเป็น อสรูปะ
อันเป็นเบื้องหลัง อิวัณณะ อันอยู่ข้างหน้า
ย่อมถึงความเป็น ย อักษร (นวา)
ได้บ้าง.
สัทท. 51 ยมิวณฺโณ นวา
ในเพราะสระอันเป็นเบื้องหลัง,
อิวัณณะ อันเป็นเบื้องหน้า ย่อมถึงความ เป็น
ย อักษร ในบางที่
อธิบาย.
ในปทรูปสิทธิ แสดงว่า เพราะมีสระอันเป็นสรูปะ (มีรูปไม่เหมือนกัน คือ อ อา อุ อู
เอ โอที่ไม่เหมือนกับ อิวัณณะ คือ อิ อี) เป็นอักษรต้นบทหลัง จึงสามารถอาเทศ อิ อี
ที่เป็นอักษรท้ายของบทข้างหน้าเป็น ย ได้.
สระ อิ นั่นเอง เป็น อิวัณณะ. เมื่อกล่าวเช่นนี้ ฟังดูคล้ายกับว่า
ท่านระบุเอา สระ อิ เท่านั้นว่าเป็น อิ วัณณะ แต่ความเป็นจริงแล้ว ต้องเอาสระ อี
ซึ่งมีฐานเหมือนกันด้วย ฉะนั้น ในสูตรนี้ จึงถือเอาได้ว่า สามารถอาเทศ อิ และ อี
ที่เป็นอักษรท้ายของบทข้างหน้าเป็น ย ได้.
ส่วนคำว่า นวา ก็มีความหมายเดียวกันกับ
กฺวจิ หรือ วา ศัพท์นั่นเอง (แปลว่า ได้บ้าง, ในพระบาลีบางที่ . ซึ่งเรียกว่า เป็นไวพจน์กัน
หรือใช้แทนกันได้นั่นเอง)
อุทาหรณ์
พฺยากาสิ*
|
วิ
+ อา + อกาสิ
|
พยากรณ์แล้ว
|
พฺยากโต
|
วิ
+ อา + กโต
|
พยากรณ์แล้ว
|
พฺยญฺชนํ
|
วิ
+ อญฺชนํ
|
แกง,
กับข้าว
|
พฺยากรณํ
|
วิ
+ อา + กรณํ
|
ไวยากรณ์
|
ปฏิสนฺถารวุตฺยสฺส**
|
ปฏิสนฺถารวุตฺติ
+ อสฺส
|
ข้อปฏิบัติปฏิสันถารของเธอ
|
ทาสฺยาหํ
ปรเปสิกา อหุ
|
ทาสี
+ อหํ
|
ฉันเป็นนางทาสรับใช้ผู้อื่น
|
สพฺพา
วิตฺยานุภุยฺยเต
|
วิตฺติ
+ อนุภุยฺยเต
|
ชนทั้งปวงถูกความเพลิดเพลิน
ครอบงำ.
|
นทฺยาสนฺโน
|
นที
+ อาสนฺโน
|
ใกล้แม่น้ำ
(ริมน้ำ)
|
*
คำว่า
พฺยากาสิ ในสัททนีติ แสดงว่า “ตัดบทเป็น
วิ + อา + อกาสิ. คำว่า วิ และคำว่า อา เป็นอุปสรรคบท. คำว่า อกาสิ
เป็นกิริยาอาขยาตบท. คำว่า พยากาสิ นี้ มีความหมายว่า กเถสิ ด้วยอำนาจของวิ และ อา
อุปสรรค เหมือนบทว่า กโต ในคำว่า พฺยากโต นี้ มีความหมายว่า กถิโต ด้วยอำนาจของ วิ
และ อา อุปสรรค ฉะนั้น.
อนึ่ง ในคำว่า พฺยากาสิ นี้ ในบรรดาสระ ๓
ตัวที่อยู่ตามลำดับ คือ อิ + อา + อ พึงทราบว่า มีการลบ อา อักษร หลังจาก อิ อักษร
ที่เป็น อสรูปวัณณะ. (คือ ลบ อา ที่อยู่หลังจาก อิ ที่ วิ ออกไปก่อน. เมื่อ อิ ที่
วิ เป็น ย จึงทำทีฆะ อ ที่ อกาสิ เป็น อา โดยอาศัยสูตรที่ ๖๔ ว่า สรา พฺยญฺชเน
ทีฆํ ทีฆะสระหน้า เพราะพยัญชนะเบื้องหลังบ้าง).
** คำว่า ปฏิสนฺถารวุตฺยสฺส
มีการสำเร็จรูปพิเศษดังนี้
๑) แยกพยัญชนะออกจากสระ วุตฺตฺ อิ อสฺส ด้วยสูตรว่า ปุพฺพมโธ ฯ
๒) เพราะสระหลังเป็น อสรูปะ วุตฺตฺ
ยฺ อสฺส ด้วยสูตรว่า อิวณฺโณ ฯ
แปลง อิ เป็น ย
๓) พยัญชนะซ้อนกัน ๓ ตัว วุ ตฺ ยฺ อสฺส ด้วย
จ ศัพท์ในสูตรว่า
๔) นำพยัญชนะประกอบสระหลัง วุตฺยสฺส ด้วยสูตรว่า นเย ปรํ
ยุตฺเต.
สำเร็จรูปเป็น ปฏิสนฺถารวุตฺยสฺส
ข้อยกเว้น
ด้วยคำว่า นวา
ที่แปลว่า ได้บ้าง แสดงถึงข้อยกเว้นว่า ในอุทาหรณ์เหล่านี้ ไม่ต้องทำตามสูตรนี้
ก็ได้ เช่น
ปญฺจหงฺเคหิ
|
ปญฺจหิ
+ องฺเคหิ
|
ด้วยองค์
๕
|
ตานิ
อตฺตนิ
|
ตานิ
+ อตฺตนิ
|
ทุกข์เหล่านั้น
ย่อมมีในตน
|
คจฺฉามหํ
|
คจฺฉามิ
+ อหํ
|
ข้าพเจ้าไป
|
ตสฺส
ปุฏฺโฐ วิยากาสิ
|
วิ
+ อา + อกาสิ
|
ถูกถามแล้วจึงให้คำตอบ
|
มุตฺตจาคี
อนุทฺธโต
|
มุตฺตจาคี
อนุทฺธโต
|
ผู้สละไม่มีเยื่อใย,
ไม่ฟุ้งซ่าน
|
อกฺขรานํ
วิยญฺชนํ
|
วิ
+ อญฺชนํ
|
อักษร
เป็นเครื่องแสดง
|
[1] ในสูตรนั้น
ท่านบอกว่า เมื่อลบสระหลังจากนิคคหิตแล้ว พยัญชนะสังโยค
จะเป็นพยัญชนะปราศจากสังโยค ด้วย.
ก็ด้วยการตัดแบ่งสูตรนี้ อาศัยคำว่า ด้วย (จ ศัพท์) นี้แหละ
อาจารย์พุทธัปปิยะ ผู้แต่งคัมภีร์ปทรูปสิทธิ ท่านบอกว่า ถ้ามีพยัญชนะสังโยค
ซ้อนกัน ๓ ตัว พยัญชนสังโยคที่มีรูปเหมือนกัน ต้องทำให้เป็นพยัญชนะที่ไม่มีสังโยค
นั่นก็คือ ให้ลบออกไปเสีย ๑ ตัว. ดังนั้น ในอุทาหรณ์นี้ เมื่อผ่านขั้นตอนที่อาเทศเป็น
ย แล้ว จะปรากฏพยัญชนสังโยคอยู่ถึง ๓ ตัว คือ ตฺ ตฺ ยฺ จึงต้องลบ ตฺ ออกเสียง ๑
ตัว ได้รูปเป็น วุตฺ ยฺ อสฺส เมื่อรวมพยัญชนะกันแล้ว
จึงสำเร็จรูปดังกล่าวได้. ในอุทาหรณ์ว่า
อคฺยาคารํ เป็นต้น ก็มีนัยเช่นนี้.